Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8695
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชยพล ผู้พัฒน์th_TH
dc.date.accessioned2022-11-22T04:27:59Z-
dc.date.available2022-11-22T04:27:59Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationชยพล ผู้พัฒน์. 2564. "รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8695-
dc.descriptionตารางและรูปภาพประกอบ-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบหลายช่วง นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ Q Mark, GDP, GSP, Q-Cold Chain, ISO18000, ISO22301, ISO28000 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อสังเคราะห์ตัวแปรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพ จากนั้นจึงใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยนำตัวแปรที่สังเคราะห์ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q Mark ในประเทศไทย จำนวน 414 ราย ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 324 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.26 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยเพื่อยืนยันตัวแปร สุดท้ายจึงนำผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพและจัดสนทนาเชิงกลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพมีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายกรมการขนส่งทางบกที่มีการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectรูปแบบความปลอดภัยth_TH
dc.subjectอาชีวอนามัยของสุขภาพth_TH
dc.subjectการขนส่งสินค้าth_TH
dc.subjectธุรกิจโลจิสติกส์th_TH
dc.subjectโรคอุบัติใหม่th_TH
dc.titleรูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่th_TH
dc.title.alternativeTHE OCCUPATIONAL HEALTH SAFETY MODEL OF LOGISTICS BUSINESSES FOR HANDLING WITH EMERGING DISEASESth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.