กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8695
ชื่อเรื่อง: รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE OCCUPATIONAL HEALTH SAFETY MODEL OF LOGISTICS BUSINESSES FOR HANDLING WITH EMERGING DISEASES
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชยพล ผู้พัฒน์
คำสำคัญ: รูปแบบความปลอดภัย
อาชีวอนามัยของสุขภาพ
การขนส่งสินค้า
ธุรกิจโลจิสติกส์
โรคอุบัติใหม่
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชยพล ผู้พัฒน์. 2564. "รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์ในภาวะวิกฤติโรคระบาด โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานแบบหลายช่วง นำด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เริ่มต้นด้วยการสังเคราะห์ข้อมูลจากมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ Q Mark, GDP, GSP, Q-Cold Chain, ISO18000, ISO22301, ISO28000 และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของบริษัทที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อสังเคราะห์ตัวแปรเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพ จากนั้นจึงใช้วิธีเชิงปริมาณ โดยนำตัวแปรที่สังเคราะห์ได้มาสร้างแบบสอบถาม เพื่อสำรวจการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพของผู้ประกอบการธุรกิจโลจิสติกส์ด้านขนส่งที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน Q Mark ในประเทศไทย จำนวน 414 ราย ได้แบบสอบถามกลับคืนและสมบูรณ์จำนวน 324 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 78.26 จากนั้นนำผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัยเพื่อยืนยันตัวแปร สุดท้ายจึงนำผลการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมาพัฒนารูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพและจัดสนทนาเชิงกลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยของสุขภาพในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ด้านการจัดการพนักงานขับรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการรถขนส่งสินค้า ด้านการจัดการเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้า และด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพ ซึ่งผลการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่าองค์ประกอบด้านการโต้ตอบภาวะวิกฤติความปลอดภัยด้านสุขภาพมีความสำคัญสูงสุด รองลงมาคือ ด้านระบบการจัดการภายในองค์กร ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากผลการวิจัยสามารถนำมาใช้ในการวางแผนในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาชีวอนามัยในการขนส่งสินค้าของธุรกิจโลจิสติกส์เพื่อรองรับโรคอุบัติใหม่ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายกรมการขนส่งทางบกที่มีการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการขนส่งสินค้า และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้า
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8695
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น