กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9059
ชื่อเรื่อง: กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MODEL LAW ON EQUALITY OF MINIMUM STANDARDS ON THE WELFARE AND BENEFITS OF UNIVERSITY STAFFS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สว่าง กันศรีเวียง
คำสำคัญ: ความเสมอภาค
สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล
พนักงานมหาวิทยาลัย
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สว่าง กันศรีเวียง. 2565. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคด้านมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ศึกษาและวิจัยเรื่องกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงามหวิทยาลัย ซึ่งมีวัตถุประสงเพื่อการศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล (2) วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบในเรื่องสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และ กฎหมายของประเทศไทย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทยให้เกิดความเสมอภาคกัน (3) วิเคราะห์สภาพการณ์การคุ้มครองสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (4) วิเคราะห์รูปแบบสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลที่เหมาะสมสำหรับสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลพนักงานมหาวิทยาลัยของประเทศไทย (5) จัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า จากการใช้ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดในการวิเคราะห์เกี่ยวกับความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัยพบว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกฎหมายที่เปิดช่องนำหลักการความมีอิสระในการบริหารจัดการมาใช้กับมหาวิทยาลัย ระบบการบริหารงานด้านบุคลากรจึงให้อำนาจและหน้าที่แก่สภามหาวิทยาลัยในการกำหนดสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งพบว่าแต่ละมหาวิทยาลัยมีการกำหนดอัตราสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลแตกต่างกัน ทั้งที่การเข้ามาเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของทุกมหาวิทยาลัยถูกกำหนดคุณสมบัติเหมือนกัน จึงเกิดการเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัยเดียวกันหรือระหว่างมหาวิทยาลัยทำให้เห็นได้ชัดถึงความไม่เสมอภาค เหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันทั้งที่ต่างก็ทำหน้าที่เหมือนกัน ซึ่งย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการให้ความรู้แก่บุคลากรของชาติ ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้จึงได้เสนอกฎหมายต้นแบบความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติความเสมอภาคในสวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูลของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. .... ซึ่งประกอบด้วย (1) นิยามศัพท์ (2) การศึกษา (3) ความมั่นคงในชีวิต (4) หลักประกันสุขภาพ และ (5) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9059
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น