Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9183
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ และการจัดสวัสดิภาพสัตว์
Other Titles: LEGAL PROBLEMS RELATING TO ANIMAL CRUELTY PREVENTION AND ANIMAL WELFARE
Authors: ศศินันท์ แสงทอง
Keywords: การป้องกันการทารุณกรรมสัตว์
การจัดสวัสดิภาพสัตว์
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ศศินันท์ แสงทอง. 2566. “ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ทั้งแนวความคิด มาตรการทางกฎหมายและบทลงโทษที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ โดยศึกษากฎหมายของประเทศไทยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุง แก้ไข รวมถึง การพัฒนามาตรการทางกฎหมายของไทยในเรื่องการป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า การจัดสวัสดิภาพสัตว์ตามพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 มาตรา 22 และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดสวัสดิภาพฉบับต่าง ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศแล้ว พบว่ากฎหมายของต่างประเทศมีการกำหนดถึงสถานะการเป็นเจ้าของสัตว์ไว้ อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นกำหนดให้เจ้าของสัตว์ต้องกระทำการเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสัตว์โดยการฝังไมโครชิพในสัตว์เพื่อให้ทราบว่าสัตว์อยู่ในครอบครองของบุคคลใด รวมทั้งผู้ซึ่งจะเลี้ยงสัตว์ดุหรือสัตว์อันตรายจะต้องได้รับการอนุญาตและต้องติดตั้งอุปกรณ์ติดตามสัตว์นั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายจากสัตว์นั้นด้วย หากมีการฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษจำคุกหรือโทษปรับตามที่กฎหมายกำหนด และในมาตรา 23 ที่กำหนดห้ามมิให้เจ้าของสัตว์ปล่อย ละทิ้ง หรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์พ้นจากการดูแลของตนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถึงแม้กฎหมายของประเทศไทยจะมีการบัญญัติในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน แต่บทลงโทษต่อเจ้าของสัตว์ผู้ซึ่งกระทำความผิดนั้นมีเพียงแค่โทษปรับเท่านั้นทำให้ผู้กระทำความผิดอาจไม่เกรงกลัวได้รวมทั้งอาจปฏิเสธความเป็นเจ้าของสัตว์เมื่อไม่ให้มีความผิดได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นเครือรัฐออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกาแล้ว พบว่ากฎหมายต่างประเทศมีบทลงโทษเจ้าของสัตว์และผู้กระทำความผิดในการทารุณกรรมสัตว์ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับไว้อย่างชัดเจนขึ้นกับจำนวนครั้งและความรุนแรงของการกระทำความผิด โดยโทษปรับและโทษจำคุกนั้นมีอัตราโทษที่รุนแรงกว่ากฎหมายของประเทศไทยหลายเท่าตัว จึงเป็นสาเหตุให้ต่างประเทศนั้นสามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากผลการศึกษาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่าควรกำหนดให้มีมาตรการในการระบุตัวเจ้าของสัตว์หรือผู้เลี้ยงสัตว์หรือผู้ครอบครองสัตว์ให้เป็นรูปธรรม โดยกำหนดให้มีการจดทะเบียนสัตว์หรือเจ้าของสัตว์เพิ่มเติมในมาตรา 22/1 โดยให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการ และเห็นควรให้มีบทบัญญัติเพิ่มเติมในมาตรา 23/1 เพื่อป้องปรามมิให้เจ้าของสัตว์ ปล่อย ละทิ้งหรือกระทำการใด ๆ ให้สัตว์นั้นอาจทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์อื่น รวมทั้ง เห็นควรให้เพิ่มบทลงโทษในมาตรา 32 สำหรับเจ้าของสัตว์ซึ่งไม่ปฏิบัติให้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 40,000 บาท ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ เพื่อให้พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมสัตว์และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ในหมวดการจัดสวัสดิภาพสัตว์และความรับผิดของเจ้าของสัตว์มีความชัดเจนและสามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9183
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.