กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9302
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 : ศึกษากรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE PROBLEM OF IMPOSING FINES IN CRIMINAL CASES UNDER SECTION 29/1 OF THE CRIMINAL CODE : A STUDY OF CASES IN WHICH THE COURT SENTENCED IMPRISONMENT FOR NOT MORE THAN THREE YEARS AND A FINE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริพร มะลิทอง
คำสำคัญ: โทษปรับในคดีอาญา
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29/1
วันที่เผยแพร่: 2566
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ศิริพร มะลิทอง. 2566. "ปัญหาการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 : ศึกษากรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา นโยบาย แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1: ศึกษากรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในคดีอาญาของประเทศไทยและต่างประเทศได้แก่ ประเทศสวีเดน และประเทศสหรัฐอเมริกา รัฐนิวยอร์ค (3) วิเคราะห์ เปรียบเทียบการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการบังคับโทษปรับในคดีอาญาของไทยและต่างประเทศ (4) เสนอแนะแนวทาง และแก้ไขการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1: ศึกษากรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับ นำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้มีระสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยจากเอกสาร ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องจาก ตัวบทกฎหมาย วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความ งานวิจัย เอกสารทางวิชาการอื่นๆ และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 29/1 : ศึกษากรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า ตามแนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในการบังคับโทษปรับในคดีอาญาของแต่ละประเทศได้มีนโยบายและมาตรการทางกฎหมายแตกต่างกันไป มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายอาญาให้เป็นมาตรฐานสากล โดยให้ความสำคัญในการบังคับโทษปรับในคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 ในกรณีคดีที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกินสามปีและปรับโดยนำระบบวันปรับ (Day fine System) มาใช้พิจารณาโทษปรับในคดีที่ศาลลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับ โดยกำหนดให้ศาลพิจารณาถึงฐานะทางเศรษฐกิจ ความร้ายแรง สภาพแวดล้อมของผู้กระทำความผิดมาประกอบการกำหนดโทษปรับของจำเลยเพื่อเป็นการลดความเหยื่อมล้ำการลงโทษปรับแก่จำเลยที่มีฐานะแตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์กฎหมายดังกล่าวแล้วยังมีข้อพิจารณาเรื่องการบังคับยึดทรัพย์ผู้กระทำความผิดเพื่อใช้แทนค่าปรับ โดยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29/1 กำหนดให้เจ้าพนักงานศาลที่ได้รับแต่งตั้งและพนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการบังคับคดีอันเป็นการก่อให้เกิดภาระหน้าที่แก่เจ้าหน้าที่ที่มิได้มีหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าวโดยตรง ทำให้การบังคับโทษปรับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลไม่มีความชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม และไม่สอดคล้องกับหลักการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นอกจากนี้ยังพบปัญหาการชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลหรือคำพิพากษากฎหมายซึ่งมีการคิดค่าปรับแบบตายตัว ประกอบทั้งในทางปฏิบัติเมื่อศาลมีคำพิพากษาลงโทษปรับหากจำเลยไม่มีเงินชำระค่าปรับ ศาลอาจมีสั่งให้กักขังแทนค่าปรับ หรือให้จำเลยทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ อันเป็นการใช้มาตรการที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการลงโทษปรับ อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญาไม่ได้กำหนดให้ผู้ต้องโทษสามารถผ่อนชำระค่าปรับ แต่ในทางปฏิบัติศาลอาจใช้ดุลพินิจมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ต้องโทษผ่อนชำระค่าปรับ แต่การชำระค่าปรับต้องชำระ ณ ศาลที่มีคำพิพากษา ผู้วิจัยจึงขอเสนอการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องกับการบังคับโทษปรับในคดีอาญาให้ครอบคลุม และมีความเหมาะสมทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การบังคับโทษเป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเกิดประสิทธิภาพในการบังคับโทษปรับอันส่งผลดีต่อทั้งภายครัฐ สังคม ผู้ต้องโทษ ตลอดจนบุคคลในครอบครัวของผู้ต้องโทษต่อไป
รายละเอียด: ตารางและแผนภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9302
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น