กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9347
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorมังกร ศรสงครามth_TH
dc.date.accessioned2023-09-01T04:56:55Z-
dc.date.available2023-09-01T04:56:55Z-
dc.date.issued2566-
dc.identifier.citationมังกร ศรสงคราม. 2566. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9347-
dc.descriptionตารางประกอบth_TH
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งศึกษาความเป็นมา เจตนารมณ์ และความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยทำการศึกษากฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่า บทบัญญัติมาตรา 9 กรณีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย มีผลกระทบทางกฎหมายจากปัญหาดังนี้ คือ 1) ความไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 9 2) หลักเกณฑ์การใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายกรณีเจ้าที่กระทำความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 9 อาจขัดหรือแย้งต่อหลักความรับผิดและการฟ้องคดีตามนัย มาตรา 5 ซึ่งกําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ขอได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ และ 3) กลไกในการตรวจสอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จากบทบัญญัติมาตรา 9 จึงเป็นปัญหาสําคัญส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม อย่างไรก็ตาม ในประเทศต่างๆ หากต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้อำนาจมหาชน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับเอกชนที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะแม้ว่า เอกชนที่ได้รับความเสียหายอาจฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายให้รับผิดชอบได้ ในส่วนตัวต่อศาลยุติธรรมไม่ใช่หลักประกันว่าเอกชนจะได้รับความเสียหายเต็มจำนวน เพราะเจ้าหน้าที่ผู้นั้นอาจมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวตามข้อเสนอข้างต้นแล้ว ความเข้าใจ ผิดและการตีความที่ผิดแปลกไปจากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้ และทำให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่าเจ้าหน้าที่ไม่จำต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิด ที่ตนได้กระทำลงในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้การใช้บังคับกฎหมาย (Law Enforcement) เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความชัดเจน (Clarity) เป็นไปตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายแห่งพระราชบัญญัติ ทั้งยังสามารถตรวจสอบเพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม เค้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย สร้างขวัญและกำลังใจในการทํางาน ให้แก่เจ้าหน้าที่ ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนอีกด้วยth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectสิทธิเรียกของผู้เสียหายth_TH
dc.subjectการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนth_TH
dc.subjectความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่th_TH
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS REGARDING THE RIGHT OF OFFICIALS TO MAKE A CLAIM FOR REIMBURSEMENTS FROM GOVERNMENT ORGANIZATIONSth_TH
dc.typeThesisth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น