Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9352
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับโทษทางอาญาในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
Other Titles: LEGAL PROBLEMS RELATING TO CRIMINAL PENALTIES UNDER THE LABOUR PROTECTION LAW
Authors: ประกฤษฎิ์ พุกกะณะสุต
Keywords: โทษทางอาญา
คุ้มครองแรงงาน
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ประกฤษฎิ์ พุกกะณะสุต. 2566. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับโทษทางอาญาในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมา ที่มาของปัญหาของโทษทางอาญาต่อสถานประกอบกิจการที่มีการเลิกจ้างเนื่องจากปัญหาสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาของโทษทางอาญาในการจ้างแรงงานเด็ก แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับมาตรการทางอาญา กฎหมายต่างประเทศ เปรียบเทียบกับกฎหมายของไทย เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนากฎหมายคุ้มครองแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการทางอาญา ที่เป็นธรรมทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง จากการศึกษาพบว่า กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานของประเทศไทย ยังมีมาตรการทางอาญาที่ไม่สอดคล้องกับบริบทในสังคมไทยเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้างที่ปัญหาสภาพเศรษฐกิจ และโทษทางอาญาในการจ้างแรงงานเด็ก แต่จากการศึกษากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานของต่างประเทศ ได้แก่สาธารณรัฐเกาหลีและราชอาณาจักรบรูไน พบว่ามีแนวคิดและทฤษฎีที่หากนำมาปรับใช้ในกฎหมายของไทยจะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างแท้จริงและเป็นไปตามเจตนารมณ์ของมาตรการทางอาญา ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานในเรื่องของมาตรการทางอาญาในการเลิกจ้างลูกจ้าง ซึ่งนายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจขาดสภาพคล่องทางการเงิน และแก้ไขปรับปรุงลดโทษทางอาญาในการจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะทำให้นายจ้างหรือสถานประกอบกิจการมีการประกอบธุรกิจต่อไปได้ อย่างปกติสุข ลูกจ้างมีงานทำ นายจ้างมีผลกำไรและรายได้จากผลผลิตที่มีคุณภาพ ครอบครัวมีรายได้ที่สุจริต สังคมปลอดภัย เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ประชาชนเป็นสุขทุกฝ่าย
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9352
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.