SPU Chonburi Campus
URI ถาวรสำหรับชุมชนนี้
เรียกดู
กำลังเรียกดู SPU Chonburi Campus โดย เรื่อง "กฎหมาย"
ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 50
ผลลัพธ์ต่อหน้า
ตัวเลือกเรียงลำดับ
รายการ การเสียสิทธิทางกฎหมายของบุคคลล้มละลายในธุรกิจ(2551-06-23T07:52:28Z) ธนเดช อังคะนาวินการศึกษาค้นคว้ามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคเอกชน เรื่องการเสียสิทธิของลูกจ้างในภาคเอกชนนั้นหากตกเป็นบุคคลล้มละลาย ก็ยังเป็นปัญหาในทางปฏิบัติอยู่ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับบุคคลเหล่านั้น เพราะบางบริษัทก็กำหนดเป็นคุณสมบัติไว้ บางบริษัทก็ไม่กำหนดไว้ในข้อบังคับการทำงาน ดังนั้นเมื่อมีการเลิกจ้างจะถือว่าขัดต่อกฎหมายหรือไม่ และจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายต่างๆ รวมถึงการต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไว้แต่อย่างใด อีกทั้งยังไม่เคยมีคำพิพากษากำหนดเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ จึงควรที่จะมีการกำหนดสิทธิของลูกจ้าง ไว้ให้ชัดเจนเพื่อเป็นผลดีต่อทุกๆ ฝ่ายในอนาคตต่อไป การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคราชการ พบว่า สิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายซึ่งเป็นข้าราชการนี้ นอกจากจะต้องออกจากราชการแล้ว เงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เบี้ย-หวัด หรือเงินอื่นๆ ก็จะต้องถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มารับเงินดังกล่าวไป เพื่อรวบรวมไปชำระแก่เจ้าหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายหลุดพ้นจากการล้มละลายโดยเร็ว แต่ในความเป็นจริงแทบจะทำไม่ได้เลย เพราะข้าราชการผู้ล้มละลายนั้น ขาดทั้งสถานภาพทางสังคมและขาดทั้งรายได้จากการรับราชการเนื่องจากต้องออกจากราชการ จึงทำให้การหลุดพ้นจากการล้มละลายทำได้ยากยิ่งขึ้น การศึกษาข้อจำกัดของบุคคลล้มละลายภาคการเมือง ในทางการเมืองควรมีการเปิดกว้างในเรื่องคุณสมบัติของผู้ลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา และผู้แทนราษฎร โดยเปิดโอกาสให้บุคคลล้มละลายสามารถสมัครรับเลือกตั้งได้ เพราะผู้ที่จะตัดสินก็คือ ประชาชน ไม่ใช่ถูกจำกัดสิทธิ โดยข้อห้ามของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ในเรื่องการเสียสิทธิและสถานภาพของบุคคลล้มละลายในภาคราชการและการเมืองนั้นหากเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการประเภทใด ระดับใด ตำแหน่งอะไร ก็จะต้องถูกออกจากราชการโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าขาดคุณสมบัติข้าราชการพลเรือน ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ พลเรือน พ.ศ.2535 เช่นเดียวกับข้าราชการการเมือง ซึ่งหากเป็นบุคคลล้มละลายไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใด ก็ต้องพ้นสภาพการเป็นข้าราชการการเมืองโดยทันที โดยไม่มีข้อยกเว้นใดทั้งสิ้นซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 การศึกษาค้นคว้านี้ ได้กระทำโดยการศึกษาจากเอกสาร ระเบียบต่างๆ ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งโดยทั่วไปพบว่าส่วนใหญ่ยังเห็นว่าไม่ควรมีการจำกัดสิทธิของบุคคลล้มละลายอย่างที่เป็นอยู่ แต่เนื่องจากไม่มีระเบียบกฎหมายกำหนดห้ามไว้ จึงต้องกระทำตามระเบียบข้อกำหนดของกฎหมายเดิมไปก่อนจนกว่าจะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ผู้ศึกษาค้นคว้าได้เสนอแนวทางในการพิจารณาแก้ไข การเสียสิทธิของบุคคลล้มละลายในสังคมไทยไว้ทั้งในภาคเอกชน ภาคราชการ และภาคการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางที่อาจเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ ผู้บริหาร และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ปฏิบัติ รวมทั้ง นักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาต่อไปรายการ ความรับผิดชอบในทางละเมิดกรณีเหตุสุดวิสัยตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ถึงมาตรา 437(2551-08-26T03:46:09Z) ภูวนัย นันทเวชในองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิดกฎหมายบัญญัติให้การกระทำนั้นต้องมีลักษณะที่เป็นการกระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ และการกระทำนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น กฎหมายให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นธรรมเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคคลนั้น หรือเป็นการรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามที่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 ดังนั้นบุคคลที่ก่อให้เกิดความเสียหายจึงต้องรับผิชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถ้าการที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น มิได้เกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เกิดจากเหตุอื่นที่เข้ามาแทรกแซงหรือเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดการกระทำที่เป็นละเมิดอาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย ถ้าจะให้บุคคลนั้นรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจจะไม่เป็นธรรมต่อบุคคลผู้ได้ประสบเหตุนั้น ในกรณีของการกระทำความผิดในทางละเมิดของบุคคลอื่น แต่ให้บุคคลหนึ่งใช้ค่าสินไหมทดแทน เนื่องจากบุคคลที่กระทำความผิดเป็นบุคคลที่ตนเองต้องรับผิดชอบในการดูแลหรือว่ามีหน้าที่ในการอบรมและรับผิดชอบตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เรียกว่าความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น ตามที่มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 และมาตรา 430 กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อเป็นหลักประกันการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ที่ได้รับผลของการกระทำละเมิดที่เกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น จึงเป็นความรับผิดที่ไม่มีการกระทำความผิดของผู้ที่ต้องรับผิด แต่เกิดจากข้อสันนิษฐานของความรับผิดทางกฎหมายที่ต้องการปกป้องผู้เสียหาย เนื่องจากกฎหมายถือว่าบุคคลที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำของบุคคลอื่นนั้น เป็นความบกพร่องต่อหน้าที่ในการดูแล การควบคุม การสั่งการหรือการใช้ความระมัดระวังไม่ดีพอ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นจึงต้องรับผิดชอบชดใช้ แต่ถ้าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นมิได้เกิดจากสาเหตุเหล่านั้น แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แม้บุคคลนั้นจักได้ใช้ในความรับผิดของนายจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ได้แก่ เมื่อลูกจ้างได้กระทำละเมิดการจะนำเรื่องเหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อ ยกเว้นความรับผิดสามารถนำมาอ้างได้ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับความรับผิดทางละเมิดทั้งที่เป็นหลักทั่วไปหรือเป็นความรับผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มาตรา 421 มาตรา 423 และมาตรา 428 และความรับผิดในความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่นตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 มาตรา 427 มาตรา 429 และมาตรา 430 รวมทั้งความรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 433 มาตรา 434 และมาตรา 436 ซึ่งบทบัญญัติเหล่านี้ ไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าเหตุสุดวิสัยสามารถที่จะนำมาเป็นข้อต่อสู้เพื่อไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้กับคดี ดังนั้นการที่ศาลได้มีการนำเหตุสุดวิสัยมาปรับใช้จึงเป็นการยืนยันได้ว่าเหตุสุดวิสัยใช้เป็นข้อยกเว้นความรับผิดได้ทั้ง 3 ลักษณะของความผิด แม้จะไม่มีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดทางละเมิดไว้ ดังนั้นการพิจารณาที่เกิดจากความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัยจำเป็นต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนโดยต้องใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง อีกประการหนึ่งนักกฎหมายไทยมีความเข้าใจได้ดีเกี่ยวกับเหตุสุวิสัย จากกรณีที่มีการนำเอาความหมายของเหตุสุวิสัยที่มีการกำหนดไว้ในกฎหมายต่างประเทศมาใช้เพื่อการยกเว้นความรับผิดของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการสร้างความยุติธรรมให้แก่จำเลยจากความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยรายการ ปัญหากฎหมายการออกเอกสารสิทธิที่ดินบนเกาะตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537)(2553-06-05T08:59:03Z) ไชยา วิสุทธิปราณีการออกเอกสารสิทธิที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งในปัจจุบันคือโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากภาครัฐและเอกชนมีวัตถุประสงค์ตรงกันในการต้องการให้รัฐเร่งรัดออกเอกสารสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินโดยเร่งด่วนเพื่อรับรองคุ้มครองสิทธิเจ้าของที่ดิน เป็นการป้องกันการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินและเพื่อเป็นหลักทรัพย์ในการประกอบอาชีพของประชาชนแต่ด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน ซึ่งบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน กฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายที่ดิน ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติประกอบกับกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดิน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาในการออกเอกสารสิทธิให้กับประชาชน ซึ่งครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดิน วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาการออกโฉนดที่ดินที่ดินบนเกาะ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวตามข้อ 14 (3) กำหนดเงื่อนไขเด็ดขาดว่าห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินสำหรับที่เกาะที่ไม่มีหลักฐานแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1) ใบจองใบเหยียบย่ำหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โฉนดตราจอง ตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้วจึงเป็นการตัดสิทธิผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยไม่เปิดโอกาสให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่ดินนั้นๆ ในการที่จะขอออกโฉนดที่ดินตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้เหมือนเช่นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่มิใช่ที่เกาะ เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินบนเกาะ ซึ่งผลของการออกกฎกระทรวงดังกล่าวเท่ากับเป็นการยกเลิกมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินไปโดยปริยายสำหรับที่ดินบนเกาะ จากการศึกษาพบว่าโดยปกติทั่วไปหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการออกเอกสารสิทธิที่ดิน หากเจ้าหน้าที่ได้ดำเนินการตามระเบียบ กฎหมาย โดยเคร่งครัดแล้วก็มิใช่เรื่องง่ายๆ ในการพิจารณาออกเอกสารสิทธิที่ดินแต่ละแปลงตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยเฉพาะ ที่ดินบนเกาะ ซึ่งโดยสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาหรือเขตปริมณฑลรอบเขา 40 เมตรหรือที่มีความลาดชันเกินร้อยละ 35 หรือบางเกาะอาจอยู่ในเขตของป่าไม้หรือเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งที่ดินลักษณะดังกล่าวไม่อยู่ในหลักเกณฑ์การออกเอกสารสิทธิอยู่แล้ว ดังนั้น การที่รัฐออกกฎกระทรวงฉบับที่ 43 (พ.ศ.2537) มากำหนดเงื่อนไขเด็ดขาดจึงเป็นการตัดสิทธิประชาชนผู้ครอบครองที่ดินบนเกาะมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินในการที่จะขอออกโฉนดที่ดิน ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งที่ก่อนมีกฎกระทรวงดังกล่าวสามารถดำเนินการได้จึงเป็นการไม่ยุติธรรมสำหรับประชาชน อีกทั้งกฎกระทรวงนี้ยังเป็นการยกเลิกมาตรา 59 ทวิ มิให้ใช้สำหรับที่ดินบนเกาะโดยปริยายเห็นควรแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อความเป็นธรรมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้พิสูจน์สิทธิของตน ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เช่นเดียวกับผู้ครอบครองที่ดินทั่วไปรายการ ปัญหากฎหมายคุ้มครองแรงงา: ศึกษากรณีการย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้าง เวลาพักและสัญญาจ้างมีกำหนดเวลาซึ่งมิใช่เป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง(2553-05-18T09:11:36Z) ประเสริฐศักดิ์ ทึมหลวงวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยศึกษาเฉพาะกรณีการย้ายสถานที่ประกอบกิจการของนายจ้าง การจัดเวลาพักและการจ้างงานแบบมีกำหนดเวลา ซึ่งมิใช่เป็นธุรกิจปกติของนายจ้าง ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้บัญญัติคุ้มครองลูกจ้างไว้ ว่ากฎหมายขาดความเหมาะสมหรือมีจุดบกพร่องใดที่ควรแก้ไขให้ครอบคลุมปัญหาในทางปฎิบัติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งนายจ้างและลูกจ้างรวมถึงสังคมการใช้แรงงานของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่าการย้ายสถานประกอบกิจการของนายจ้างไปตั้ง ณ ที่แห่งอื่นอันเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวและลูกจ้างไม่ประสงค์ย้ายไปทำงานกับนายจ้าง ณ สถานประกอบกิจการแห่งใหม่นั้น สามารถยกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างและขอรับค่าชดเชยจากนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ได้ แต่ในทางปฎิบัติไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการพิจารณาว่าลูกจ้างที่จะยกเลิกสัญญาจ้างได้นั้นจะต้องได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือครอบครัวมากน้อยเพียงใดจึงยกเลิกสัญญาได้ จึงทำให้นายจ้างใช้เป็นเหตุในการปฎิเสธการยกเลิกสัญญากับลูกจ้างได้ และพบว่ากฎหมายมิได้คุ้มครองไปถึงการย้ายสถานที่ทำงานของลูกจ้างไปทำงาน ณ ที่แห่งอื่นที่นายจ้างมีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งลูกจ้างเหล่านั้นได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของตนเองหรือ ครอบครัวไม่อาจยกเลิกสัญญาและขอรับค่าชดเชยพิเศษได้ จึงเป็นช่องว่างของกฎหมายให้นายจ้างที่จะปฎิเสธการจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ทำการตั้งสถานประกอบกิจการ ณ ที่แห่งอื่นก่อนที่จะสั่งย้ายลูกจ้างไปทำงาน ทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิในการยกเลิกสัญญาและเสียสิทธิในการรับค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และในเรื่องการจัดเวลาพักให้ลูกจ้าง พบว่ากฎหมายมิได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้นายจ้างออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างขาดอิสระในการใช้ชีวิตส่วนตนในระหว่างเวลาพักตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมถึงประเด็นปัญหาสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลาในงานซึ่งมิใช่ธุรกิจปกติของนายจ้าง ลูกจ้างเหล่านี้โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในการหางานทำประจำไม่ได้ จึงยินยอมรับทำงานแบบสัญญาจ้างมีกำหนดเวลา แต่ลูกจ้างเหล่านี้ไม่ได้รับความคุ้มครองในเรื่องการจ่ายค่าชดเชย ตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานกำหนด เพราะกฎหมายคุ้มครองไม่ถึง การคุ้มครองแรงงานสัญญาจ้างงานลักษณะนี้ออกไปแตกต่างจากการจ้างงานในธุรกิจปกติ โดยลักษณะงานเช่นนี้จะมีความใกล้เคียงกันกับงานในปกติของธุรกิจของนายจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการคุ้มครองแรงงานจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน จึงไม่สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่จะได้รับจากรัฐตามที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 มาตรา 30 ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขไว้สามประการ โดยให้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 120 ให้มีหลักพิจารณาผลกระทบของลูกจ้างที่จะยกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างไว้อย่างชัดเจนและให้คุ้มครองไปถึงกรณีการย้ายลูกจ้างไปทำงานในสถานประกอบกิจการอื่นๆ ที่นายจ้างมีอยู่แล้วด้วย และให้แก้ไขมาตรา 27 วรรคแรกโดยการเพิ่มเติมข้อห้ามมิให้นายจ้างออกระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพลูกจ้างในระหว่างเวลาพัก เว้นแต่มีเหตุอันสมควรและได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและได้เสนอให้ยกเลิกมาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เพื่อให้การคุ้มครองลูกจ้างที่ทำสัญญาจ้างแบบมีกำหนดเวลาในงานที่มิใช่ธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้างให้ได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันเหมือนกับสัญญาจ้างในงานที่เป็นธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง อันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้แรงงานมากยิ่งขึ้นเดิมรายการ ปัญหากฎหมายที่ตราโดยคณะปฏิวัติเปรียบเทียบกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภา(2553) อดุลย์ ทานาราชกฎหมายเป็นบทบัญญัติซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ในการบริหารการบ้านการเมือง และบังคับบุคคลในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ผู้ใดฝ่าฝืนต้องได้รับโทษหรือต้องถูกบังคับให้ปฏิบัติตาม กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ในสังคมและเป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันแต่เริ่มต้นว่า “กฎหมาย” ต้องเป็นสิ่งที่เปิดเผยให้ทุกคนรู้ นอกจากนั้นกฎหมายยังเป็นสิ่งที่นำมาพิเคราะห์พิจารณาและศึกษาด้วยเหตุผลได้ เนื่องจากกฎหมายเป็นศาสตร์แห่งบรรทัดฐาน (normative science) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ทุกคนยอมรับและประพฤติปฏิบัติตาม และในช่วง 77 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของไทย มีการปฏิวัติและตรากฎหมายมาบังคับใช้เป็นจำนวนมากทั้งกฎหมายที่เป็นธรรมและไม่เป็นธรรม โดยรัฐบาลพลเรือน และรัฐบาลทหาร ลักษณะของกฎหมายที่ไม่เป็นะรรมนั้นก็มีอยู่หลายประการ นับตั้งแต่การบัญยัติตั้งศาลพิเศษขึ้นพิจารณาพิพากษาปรปักษ์ทางการเมือง การบังคับใช้กฎหมายย้อนหลังต่อบุคคล การตัดรอนสิทธิเสรีภาพของจำเลยในการตั้งทนายขึ้นต่อสู้คดี รวมทั้งการตัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา การตรากฎหมายมอบอำนาจตุลาการหรือนิติบัญญัติแก่ฝ่ายบริหาร เปิดช่องให้มีการจับกุมคุมขังหรือเนรเทศโดยพลการ การตรากฎหมายให้อำนาจสูงสุดแก่นายกรัฐมนตรีในการลงโทษบุคคลโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม การริดลอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพิมพ์หรือการโฆษณา การจำกัดเสรีภาพด้านแรงงาน รวมทั้งการออกกฎหมายต่อต้านการกระทำอันเป้นคอมมิวนิสต์ในการต่อสู้หรือวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเหล่านั้น จากการศึกษาทำให้ทราบว่ากฎหมายที่ใช้ในการปกครองประชาชนในรัฐหรือประเทศนั้นโดยทั่วไปแล้วจะมี 2 ลักษณะคือ ลักษณะที่เป็น will กฎหมายที่เกิดขึ้นจากความต้องการของผู้ปกครองเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว กับ general will กฎหมายที่เกิดขึ้นจากเจตจำนงร่วมกันของประชาชน กฎหมายที่มีลักษณะเป็น will รัฐาธิปัตย์ได้อำนาจมาโดยการใช้กำลังหรืออาวุธเข้ายึดเอา กฎหมายออกได้ทันที ลงนามโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามอำเภอใจ เปลี่ยนแปลงง่ายตามความต้องการของผู้ออก ขาดความเป็นธรรม เอาแต่ผลประโยชน์ตนฝ่ายเดียว ไม่คำนึงถึงประโยชน์คนส่วนรวมหรือประโยชน์ของประชาชน ไม่เคารพหลักประชาธิปไตย ไม่เคารพหลักนิติรัฐ ส่วนกฎหมายที่มีลักษณะเป็น general will นั้น รัฐาธิปัตย์ได้อำนาจมาจากการเลือกตั้งของประชาชน กฎหมายผ่านกระบวนการนิติบัญญัติในระบบรัฐสภา โดยพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย อำนาจจึงเป็นของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ซึ่งมีความแตกต่างกับพระปรมาภิไธยในประกาศหรือคำสั่งของคณะปฏิวัติ เพราะเหตุที่ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศหรือคำสั่งนั้นเป็นไปตามเจตจำนงของคณะผู้ก่อการที่จะยืนยันเจตนารมณ์ของตนว่าถึงแม้จะได้ทำการยึดอำนาจรัฐไว้ได้เป็นผลสำเร็จและเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็ยังคงดำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้กฎหมายที่ใช้ในการปกครองประเทศเกิดจากเจตจำนงร่วมกันของประชาชนจึงมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนต้องไม่ออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่คณะปฏิวัติ องค์กรต่าง ๆ ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยต้องมีความเป็นอิสระและแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด องค์กรตุลาการที่เป็นหนึ่งในสามองค์กรซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นองค์กรเดียวที่ยังคงอยู่หลังการฏิวัติต้องมีแนวคำพิพากษาฎีกาที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำปฏิวัติ เพื่อให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการผิดกฎหมายและต้องได้รับการลงโทษ และรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไม่ควรนำกฎหมายที่ออกโดยคณะปฏิวัติมาใช้ในการบริหารประเทศ ไม่ว่ากฎหมายนั้นจะเกิดประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ตามเพราะถือว่ากฎหมายดังกล่าวไม่ได้เกิดจากเจตจำนงร่วมกันของประชาชน คณะปฏิวัติไม่ควรนำคำสั่งหรือประกาศขึ้นทูลเกล้าฯ พระมหากษัตริย์เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยเหมือนกับกฎหมายที่ตราโดยรัฐสภารายการ ปัญหากฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : ศึกษาเฉพาะกรณีการชำระหนี้เป็นตัวเงิน(2551-07-04T03:47:28Z) ปณต คำนึงการการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรือที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร ได้มีการพัฒนาก้าวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet Network) ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วเหมาะสมกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลนี้เองทำให้ในปัจจุบันจึงมีการทำธุรกิจการค้าขายสินค้าและบริการด้านต่างๆ ผ่านบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากรูปแบบการค้าขายสินค้าและบริการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือการทำธุรกรรมใดๆ ผ่านระบบเครือข่ายดังกล่าวเป็นรูปแบบทางการค้ารูปแบบใหม่ จึงก่อให้เกิดสัญญารูปแบบใหม่ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “สัญญาทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce Contracts)” ซึ่งสัญญาดังกล่าวมีความแตกต่างจากสัญญาที่บัญญัติไว้ตามหลักทั่วไป เนื่องด้วยสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ หรือเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งความเจริญก้าวหน้าดังกล่าวยังถือว่าเป็นการพัฒนาการทางการค้าในรูปแบบใหม่โดยดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ในธุรกิจผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเรียกว่า เรียกกันทั่วไปว่าอีคอมเมิร์ช (E-commerce) ซึ่งมีรูปแบบในการดำเนินการในระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เริ่มตั้งแต่การเข้าสู่ระบบเครือข่ายเพื่อการโฆษณาและประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการในธุรกิจของตน (Electronics Showcase) การใช้เครือข่ายเพื่อสั่งจองสินค้า (Electronics Ordering) จากการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากจะเอื้อประโยชน์ในด้านการติดต่อสื่อสารและการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ แล้ว ยังส่งผลต่อธุรกรรมทางการเงิน (Financial Transactions) อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในการพัฒนาในวงการด้านการเงินดังกล่าวก็ยังส่งผลให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ทางกฎหมายตามมาอีกมากมาย ซึ่งมีผลกระทบถึงผลประโยชน์ในด้านส่วนตัว และส่วนรวมของประเทศ อีกทั้ง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังเป็นมูลเหตุก่อให้เกิดภาระหน้าที่ระหว่างซึ่งกันและกันในการที่จะชำระหนี้ ในทางการค้าขายสินค้าและบริการ ซึ่งภาระหน้าที่ในทางการค้าขายสินค้าและบริการที่เป็นปัญหาทางด้านกฎหมายและเป็นประเด็นที่จะต้องมีการศึกษามากที่สุด คือ ประเด็นเรื่องการชำระหนี้เป็นตัวเงิน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการชำระเงินค่าสินค้า หรือ การส่งมอบสินค้าและบริการ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักเกิดจากกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบทั้งสิ้น จากประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนได้ทำการศึกษาค้นคว้าถึงปัญหาด้านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนหามาตรการทางด้านกฎหมายเพื่อนำมาปรับ บังคับใช้ให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งผลจากการศึกษาในครั้งนี้ยังก่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการติดต่อค้าขายสินค้าและบริการ ตลอดจนวิธีการชำระหนี้ในรูปแบบใหม่ๆ ภายใต้มาตรการการคุ้มครองทางกฎหมายที่สามารถนำมาบังคับใช้ได้ในปัจจุบันด้วยเช่นกันรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต(2551-02-16T08:55:58Z) โชฎึก, โชติกำจรการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติกฎหมายออกมาใช้บังคับเป็นการเฉพาะ ไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้ามารับผิดชอบในการควบคุมดูแลอย่างชัดเจน เป็นผลให้ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้สามารถดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตได้อย่างเสรี ซึ่งการประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นการประกอบธุรกิจในด้านสินเชื่อที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและมีความสำคัญต่อสังคมของประเทศ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้บริการบัตรเครดิต รวมทั้งกำหนดเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่พบว่ายังไม่มีสภาพบังคับทำให้ผู้ประกอบธุรกิจทางด้านบัตรเครดิตบางราย ไม่ปฏิบัติตาม ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค หากไม่มีกฎหมายหรือ องค์กรเฉพาะขึ้นมาควบคุมให้เป็นไปในแนวทางหรือบรรทัดฐานเดียวกันหรือให้มีมาตรฐานเดียวกัน ย่อมก่อให้เกิดปัญหาทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้และการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต จากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาได้ดังนี้ 1. ปัญหาอันเกิดจากการการขยายตัวของธุรกิจบัตรเครดิตที่ขาดมาตรการควบคุม 2. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียกผลตอบแทนสูงเกินสมควร และการคิดดอกเบี้ยค้างชำระ เบี้ยปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีความซ้ำซ้อน ในสัญญาบัตรเครดิต 3. ปัญหาเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน กับช่องทางหลีกเลี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตต่อการคุ้มครองผู้บริโภคบัตรเครดิต 4. ปัญหาเกี่ยวกับสถานะทางกฎหมายของสัญญาบัตรเครดิตและการนำหลักกฎหมายมาปรับและบังคับใช้กับสัญญาบัตรเครดิตยังไม่มีความชัดเจนแน่นอน 5. ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายต่อการให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิต 6. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตที่ขาดการควบคุม จากการศึกษาปัญหาดังกล่าวพบว่ามาตรการทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมและยังไม่เพียงพอที่จะให้ความคุ้มครองผู้ใช้บัตรเครดิตซึ่งเป็นผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตให้มีความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในการแข่งขัน ผู้เขียนจึงเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมาบังคับใช้กับบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้โดยมีเนื้อหาสาระทั้งหมดอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกันที่มีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1. เพื่อให้มีเจ้าภาพรับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรเครดิต จึงต้องมีองค์กรหรือหน่วยงานทางภาครัฐเข้ามาควบคุมดูแลการดำเนินธุรกิจบัตรเครดิตให้ชัดเจน โดยให้มีกฎหมายรองรับถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว โดยให้มีอำนาจควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายและผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่เป็นบริษัทหรือห้างร้านต่างๆ โดยให้อยู่ภายใต้อำนาจและกฎหมายเดียวกัน 2. ต้องบัญญัติกฎหมายเกี่ยวธุรกิจบัตรเครดิตขึ้นมาเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อมาควบคุมและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ทั้งนี้โดยอาจเป็นการบัญญัติไว้เป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่ง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือตราขึ้นมาใหม่เป็นพระราชบัญญัติบัตรเครดิต เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม โดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่จำเป็นดังต่อไปนี้ 2.1 ควรมีบทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องรูปแบบของข้อตกลงการใช้บัตรเครดิตที่ต้องมีมาตรฐานและเป็นธรรม บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดของคู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลา การฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องตามสัญญาบัตรเครดิต 2.2 บัญญัติถึงข้อกำหนดในเรื่องการคิดดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียม ตามความเป็นจริงที่มีอยู่ในปัจจุบัน รูปแบบการเรียกดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม โดยสมควรต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ เมื่อรวมคำนวณแล้วต้องไม่เกินจำนวนที่กำหนดซึ่งจำนวนเท่าใดนั้นให้ถือปฏิบัติเป็นอัตราเดียวกัน อันจะทำให้ผู้ออกบัตรไม่สามารถแสวงหาประโยชน์จากผู้ถือบัตรได้อีกต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน(2553-05-18T09:04:45Z) ชนินท์วิชญ์ แสงสุวรรณวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานภาพกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนหลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ซึ่งมีการใช้บังคับ ได้กำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ มีการกระจายอำนาจการบริหารการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชนและท้องถิ่นได้มีโอกาสส่วนร่วมในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขปรับปรุง พ.ศ.2545 รวมทั้งระเบียบและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคการดำเนินงานการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งทำให้มีผลกระทบโดยตรงเกี่ยวกับสถานภาพความเป็นนิติบุคคลจึงเกิดปัญหา หลายประการ อาทิเช่น สถานภาพความเป็นนิติบุคคลของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งยัง ไม่มีกฎหมายรับรองสถานภาพให้เป็นนิติบุคคล ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงาน ปัญหาในด้านงบประมาณ ขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการไม่สามรถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งปัญหาเกี่ยวกับ การประกันคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ข้อมูลที่ค้นพบในการจัดทำวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีกฎหมายกำหนดขอบเขต อำนาจหน้าที่และให้อำนาจอิสระคล่องตัว เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการศึกษาทั้งในด้านงบประมาณและการบริหารงาน และการใช้อำนาจตามกฎหมาย อำนาจในการตัดสินใจที่เบ็ดเสร็จภายในหน่วยงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริการสาธารณะการพัฒนาเยาวชนเกี่ยวกับการศึกษา ดังนั้นวิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขว่าควรมีกฎหมายกำหนดให้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่ได้รับพระราชทานแล้วเป็นนิติบุคคล โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นองค์การมหาชนด้านการศึกษา ซึ่งข้อเสนอแนะที่สำคัญอีกประการคือ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จะต้องจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาพื้นฐานของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อมีหน้าที่ในการกำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการศึกษาตลอดจนการพัฒนาปรับปรุงการจัดการศึกษาของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศในด้านการบริหารงานควรมีการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษาจากส่วนกลางลงไปสู่โรงเรียนหรือสถานศึกษาโดยตรง มีความอิสระและคล่องตัวในการบริหารจัดการศึกษา พัฒนาบุคลากรในด้านวิชาการ สามารถนำผลงานวิชาการเพื่อ เลื่อนวิทยฐานะหรือปรับให้สูงขึ้นเหมือนหน่วยงานการศึกษาสังกัดอื่น ด้านงบประมาณสามารถตั้ง และรับงบประมาณเอง โดยเสนอผ่านหน่วยงานต้นสังกัดเพื่อให้การบริหารงบประมาณพัฒนาให้ ครูตำรวจตระเวนชายแดนต้องมีใบประกอบวิชาชีพครูและวุฒิปริญญาด้านการศึกษา เพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะเป็นที่ยอมรับในสังคมและในด้านการประกันคุณภาพการ จัดการศึกษาตลอดจนมาตรฐานของครูตำรวจตระเวนชายแดน ประเด็นสุดท้ายที่ขอเสนอแนะคือ ถ้าหากไม่สามารถมีกฎหมายรองรับสถานภาพของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติบัญญัติไว้ ก็เห็นควรถ่ายโอนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้กับ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารการจัดการศึกษา เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น อันเป็นประโยชน์สูงสุดต่อเยาวชนและประเทศชาติต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บและการชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินของสัญญาประกอบการท่าเทียบเรือ ศึกษากรณีท่าเรือแหลมฉบัง(2551-02-16T09:03:20Z) ฆสวัฒน์, พึ่งประชาการท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าประมูลเพื่อบริหารและประกอบกิจการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือบี 1-บี 4 เพื่อใช้เป็นท่าเทียบเรือตู้สินค้าและการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารสำนักงานที่เทียบเรือลานวางตู้สินค้า ฯลฯ แล้วเห็นได้ว่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินกิจการร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยที่ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะตอบแทนให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทย การดำเนินกิจการของท่าบี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับท่าเรือคือท่าเทียบเรือ ตามมาตรา 6(3) และมาตรา 9(11) แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 อันเป็นกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยตรง ซึ่งตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 บัญญัติว่า “ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และให้ได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ตามกฎหมายอื่นบรรดาที่เรียกเก็บสำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย นอกจากอาคาร และที่ดินที่ให้เช่า” บทบัญญัติดังกล่าวทำให้เห็นว่า การที่การท่าเรือแห่งประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนเข้ามาบริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือตู้สินค้า ท่าเทียบเรือ บี 1-บี 4 จึงเป็นการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้นเอง และการท่าเรือแห่งประเทศไทยสมควรที่จะต้องได้รับการยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สิน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จะไม่ได้บัญญัติให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน สำหรับอาคารและที่ดินของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยตรงเหมือนเช่นเดียวกันกับที่บัญญัติยกเว้นให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 9(2) แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ แต่คณะกรรมการกฤษฎีกาโดยกรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 2 เคยมีความเห็นที่ 80/2536 ในประเด็นตามที่กรุงเทพมหานครหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปได้ว่า คำว่า “กฎหมายอื่น” ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มีความหมายรวมถึงพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ ด้วย ดังนั้น หากเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการดำเนินกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยเอง ก็สมควรที่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับทรัพย์สินดังกล่าว ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 ซึ่งในปัจจุบันภาคเอกชนนั้นมีความเข้มแข็งมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านของแหล่งเงินทุน การระดมเงินลงทุน หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ ที่มีความก้าวหน้ากว่าภาครัฐ ดังนั้น ในกิจการของรัฐหรือการดำเนินกิจการของรัฐบางอย่างจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนโยบายให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุนหรือเข้ามาร่วมประกอบกิจการที่เป็นของรัฐ และส่งผลในการกระตุ้นให้นักธุรกิจเอกชนไม่ว่าจะเป็นนักธุรกิจในชาติหรือนักธุรกิจต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกิจการประกอบการท่าเทียบเรือหรือกิจการอื่นๆ อันจะส่งผลให้ประเทศไทยมีการพัฒนาในด้านเศรษฐกิจและการลงทุนต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินของคนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าว(2552-08-28T03:49:45Z) กำหนด โสภณวสุจากการศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 ทำให้ทราบว่า คนไทยทำการสมรสกับคนต่างด้าวได้ มีผลสมบูรณ์ โดยกฎหมายรับรองสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเช่นเดียวกับคนไทยสมรสกับคนไทย ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส ไม่ว่าจะเป็นสังหาริมทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินสมรสหรือเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่เมื่อศึกษากฎหมายตามประมวลกฎหมายที่ดิน ทำให้ทราบว่ามีบทบัญญัติจำกัดสิทธิของคนต่างด้าวในการถือครองที่ดินในประเทศไทย และยังมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิบางประการของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าวในการขอให้ได้มาซึ่งที่ดิน ถ้าเจ้าพนักงานที่ดินเชื่อว่าเป็นกรณีที่หลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือถือที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว ก็จะไม่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เว้นแต่ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสของคนไทย ทำบันทึกยืนยันว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมด เป็นสินส่วนตัวของคู่สมรสคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่สินสมรส จึงจะรับจดทะเบียนให้ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สัมพันธ์กับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัว ในเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทั้งยังเป็นการขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในเรื่องจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในเรื่องนี้มีคำพิพากษาของศาลฎีกาวางหลักกฎหมายไว้ว่า “ที่ดินและทรัพย์สินซึ่งได้มาในระหว่างสมรส ย่อมเป็นทรัพย์สินที่สามีภริยามีส่วนอยู่ด้วยคนละครึ่ง และคนต่างด้าวซึ่งเป็นสามีหรือภริยาอาจขอให้แบ่งที่ดินนั้นให้แก่ตนครึ่งหนึ่งได้” ในการศึกษาสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้ตั้งสมมติฐาน จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยมุ่งประเด็นว่า คนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรในการขอให้ได้มาซึ่งการถือครองที่ดิน ตลอดจนเมื่อได้ถือครองที่ดินแล้ว คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาอย่างไรบ้าง เมื่อทราบปัญหาและอุปสรรคแล้ว จึงนำหลักกฎหมายจากคำพิพากษาของศาลฎีกาและหลักนิติธรรมมาเป็นแนวคิดในการวิเคราะห์แก้ไขปัญหา ทั้งนี้จะเป็นแนวคิดทฤษฎีที่ไม่เป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนกฎหมาย และในขณะเดียวกันจะช่วยอำนวยความยุติธรรมด้วย โดยนัยดังกล่าว พอสรุปแนวทางได้ว่า เห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในประมวลกฎหมายที่ดิน ในกรณีการดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ที่ควรเชื่อได้ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงกฎหมาย หรือควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดจะซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์แก่คนต่างด้าว โดยกำหนดนิยามศัพท์และบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจในการใช้ดุลยพินิจของเจ้าพนักงานที่ดิน ให้อยู่ในกรอบที่ชัดเจนสอดคล้องกับหลักแห่งความเสมอภาค และความทัดเทียมของบุคคลภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อมิให้ริดรอนสิทธิและเสรีภาพของคนไทยในการถือครองที่ดิน รวมตลอดถึงควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาของคนไทยที่เป็นคู่สมรสของคนต่างด้าว ให้มีบทบัญญัติครอบคลุมชัดเจนตามระบบประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ(2552-08-28T08:23:42Z) เกศมณี มณีรัตนอมรด้วยสภาพของสังคมในปัจจุบันมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต กล่าวคือ แต่เดิมในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ก็จะได้รับการดูแลเลี้ยงดูจากบุตรหลานเป็นอย่างดี จนกระทั่งกลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม ส่วนผู้ที่ดูแลเลี้ยงดูบุคคลดังกล่าวก็จะได้รับการยกย่องว่าเป็นบุตรที่ดี มีความกตัญญูกตเวที ผลของอิทธิพลทางวัฒนธรรมดังกล่าวก็ทำให้มีการบัญญัติกฎหมายแพ่งขึ้นอย่างสอดคล้องกัน โดยได้กำหนดว่าบิดามารดามีหน้าที่ให้การอุปการะเลี้ยงดูบุตร ส่วนบุตรก็มีหน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาดุจเดียวกัน แต่เมื่อสภาพของสังคมมีความเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตร ไปเป็นสังคมอุตสาหกรรม บุตรหลานที่เข้าสู่วัยทำงานก็จะออกจากบ้านเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเพื่อทำงาน ปล่อยให้บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ที่เป็นผู้สูงอายุอยู่บ้านโดยลำพังปราศจากผู้ดูแล และถูกทอดทิ้ง ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุในปัจจุบันจึงมีทั้งการดูแลในสถาบันครอบครัว องค์กรธุรกิจภาคเอกชน และหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดูแล สำหรับการดูแลผู้สูงอายุโดยหน่วยงานของรัฐนั้น แม้ว่ารัฐจะไม่มีหน้าที่โดยเฉพาะเจาะจง ในการดูแลผู้สูงอายุก็ตาม แต่การดูแลให้การช่วยเหลืออุปการะผู้สูงอายุ ถือว่าเป็นสวัสดิการอย่างหนึ่งที่รัฐจะต้องจัดให้มีขึ้น แต่ด้วยค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการแก่ผู้สูงอายุได้อย่างทั่วถึง ขาดประสิทธิภาพ และผู้สูงอายุบางส่วนไม่อาจเข้าถึงการให้บริการได้ จากสภาพปัญหาดังกล่าวจึงทำให้เกิดธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ โดยองค์กรธุรกิจภาคเอกชนขึ้น โดยเข้ามาให้บริการกับผู้สูงอายุที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี ทั้งนี้ในการดูแลผู้สูงอายุโดยองค์กรภาคเอกชนโดยทั่วไปแล้ว จะมีลักษณะของการให้บริการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือการรับดูแลผู้สูงอายุ เข้าดูแลในสถานประกอบการ และกรณีการจัดหาหรือส่งพนักงานไปดูแลผู้สูงอายุตามบ้านพัก ด้วยเหตุที่เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นใหม่จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาการบังคับตามสัญญา ปัญหาภาระการพิสูจน์ความเสียหายที่เกิดจากการทำธุรกิจ ปัญหาการควบคุม กำกับดูแลการประกอบธุรกิจ และปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ ที่เป็นมาตรการในการควบคุมภาคเอกชนในการการเข้ามาดำเนินธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ โดยหลักแล้วเกิดจากการไม่มีกฎหมายเฉพาะ และขณะเดียวกันกฎหมายที่มีอยู่ยังไม่ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจในลักษณะเช่นนี้ ฉะนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไข จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการที่จะมีกฎหมาย เฉพาะสำหรับการประกอบธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุขึ้น เพื่อสนับสนุน รองรับ การทำธุรกิจสถานรับดูแลผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานสากล และนำไปสู่การพัฒนาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในประเทศไทยต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ(2551-06-25T03:23:45Z) พรชนะ อุ่นเจริญการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของบุคคลวิกลจริตที่เกิดจากโรคในทางจิตเวช ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของคนไร้ความสามารถและของผู้อนุบาล รวมถึงการบอกล้างหรือให้สัตยาบันในนิติกรรมที่คนไร้ความสามารถทำ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจในการประกอบธุรกิจของคนไร้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่คนไร้ความสามารถประกอบธุรกิจก่อนเป็นคนไร้ความสามารถหรือหลังจากที่เป็นคนไร้ความสามารถ ปัญหาเกี่ยวกับผู้อนุบาลที่ดูแลธุรกิจของคนไร้ความสามารถไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจแทน คนไร้ความสามารถของผู้อนุบาล ซึ่งปัญหาต่างดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้คนไร้ความสามารถได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน(2551-06-25T03:33:09Z) อัจฉริยะ เพชรอาภาการศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน มีวัตถุ ประสงค์เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทั่วไป กฎหมายที่เกี่ยวข้องและปัญหาข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน เนื่องจากมีปัญหาข้อกฎหมายหลายประเด็นที่ ขาดการให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไข โดยในส่วนลักษณะทั่วไปศึกษาและนำเสนอเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของการเป็นบุคคล ที่จิตฟั่นเฟือนไม่ว่าจะเป็นในด้านของนักกฎหมายหรือในทางการแพทย์ โดยเฉพาะลักษณะและอาการของโรคในทางจิตเวชที่มีผลต่อการวินิจฉัยว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลที่เรียกว่าวิกลจริตหรือแค่จิตฟั่นเฟือน ในส่วนของข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับความหมายและรูปแบบในการประกอบธุรกิจ กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือน ซึ่งได้แก่ความสามารถในการทำนิติกรรมของบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนประเภทของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของบุคคลที่ “จิตฟั่นเฟือน” ปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่คอยดูแลบุคคลที่จิตฟั่นเฟือนในการประกอบธุรกิจ ปัญหาเกี่ยวกับความชัดเจนของธุรกิจที่บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนสามารถประกอบได้ ซึ่งปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้ควรที่จะให้มีการแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องนี้ให้มีความชัดเจนสมบูรณ์ เพื่อให้บุคคลที่จิตฟั่นเฟือนได้รับความคุ้มครองทางด้านกฎหมายสมดังเจตนารมณ์รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงเรียนนานาชาติ: ศึกษากรณีการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว(2551-02-13T08:21:27Z) ศักดิ์ชาย สว่างสาลีการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าวในประเทศไทย ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการศึกษา พบว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน และขอยกหัวข้อข่าวเกี่ยวกับครูคนต่างด้าวเป็นกรณีศึกษา เช่นคดีที่เกี่ยวกับหัวข้อข่าวกรณี “ครูฝรั่งโรงเรียนสาธิตชื่อดังก่อคดี “ตุ๋ยเด็ก” และหัวข้อข่าว “จับฆาตกรก้องโลกฆ่าหนูน้อย 6 ขวบ–นางงามเด็ก” ถึงแม้รัฐจะมีการป้องกันและควบคุม โดยกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไขต่างๆ ขึ้นมาเพื่อดูแลการทำงานของคนต่างด้าวเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครู แต่การบังคับใช้กฎหมายยังไม่ครอบคลุม จึงเกิดประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว ได้แก่ (1) ปัญหาการอนุญาต ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร การเพิกถอนการอนุญาต (2) ปัญหาความไม่ชัดเจนของพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2521 (3) ปัญหาตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายอย่างละเอียดแล้วยังพบปัญหาการขอรับใบอนุญาตทำงานจากกรมการจัดหางาน การขอใบอนุญาตให้เป็นครู การขอรับใบอนุญาตบรรจุครูซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบคุณวุฒิ และคุณสมบัติต้องห้ามหรือไม่ เป็นบุคคลที่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบสุขหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นบุคคลต้องห้ามหรือไม่ ที่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยเร็ว ผลการวิเคราะห์จากการที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ครอบคลุมถึงมาใช้บังคับ ในส่วนที่เกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว และปัญหาสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือมาตรการการควบคุมคนต่างด้าว หากไม่มีการตรวจสอบจนเป็นที่แน่นอนเสียก่อนเกี่ยวกับตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว อาจทำให้ใครก็ได้ที่เป็นคนต่างด้าวที่เป็นฆาตกร บุคคลต้องห้ามหรือบุคคลที่ไม่พึ่งปรารถนาแอบแฝงเข้ามาเป็นครูสอนหนังสือภายในประเทศ และเป็นแหล่งหลบซ่อนของคน ต่างด้าวที่กระทำผิดกฎหมาย ผู้เขียนเห็นว่า ปัญหาดังกล่าวมีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและสภาพปัญหาในปัจจุบัน จึงสมควรแสวงหามาตรการทางกฎหมาย และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหามาตรการควบคุมป้องกันเกี่ยวกับตัวครูซึ่งเป็นคนต่างด้าว เพื่อปิดช่องว่างของกฎหมาย หรือแก้ไข ปรับปรุงให้มีความชัดเจน โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นการแก้ไขในระยะยาวต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550(2553-05-29T07:09:25Z) คมกฤช ล้นหลามวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองของศาลรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ ได้ถูกยกร่างขึ้นบนสถานการณ์ที่ต้องการจะนำพาประเทศไปสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยจะจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งต่อไป เพื่อแก้ปัญหาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่หลายฝ่ายเห็นว่าก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม ทั้งระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว การใช้สิทธิและเสรี ภาพของประชาชนยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มที่แต่เนื่องจากว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ได้เกิดขึ้นภายหลังจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 โดยสภาร่างรัฐ ธรรมนูญที่มาจากกระบวนการดำเนินการของคณะรัฐประหาร บทบัญญัติหลายประการที่ปรากฏ ในรัฐธรรมนูญนี้ถูกบัญญัติโดยมีความคิดที่จะให้สังคมต่างเชื่อว่าจะพยายามแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ.2540 ที่ให้อำนาจของฝ่ายบริหารในรัฐบาลที่ผ่านมามากมายแต่การบังคับใช้กลับทำให้สังคมบางส่วนเห็นว่า มีความพยายามที่จะนำเอาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550 มาเป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับคณะรัฐประหารเสียมากกว่าไม่ว่าจะเป็นกรณีการพิจารณาตัดสินยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคและใช้มาตรการการลงโทษพรรคการเมืองและผู้บริหารพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 237 ประกอบมาตรา 68 จะเห็นว่ากลุ่มการเมืองโดยเฉพาะในฝ่ายของอดีตรัฐบาลก่อนรัฐประหารถูกองค์กรต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยโดยผ่านกระบวนการยุติธรรมจนรัฐบาลต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเดียวกันซึ่งถ้าการใช้อำนาจและการใช้ดุลยพินิจในการวินิจฉัยขององค์กรตุลาการ หากไม่ปรากฏภาพชัดว่าตั้งอยู่บนครรลองของความยุติธรรม หรืออาจเป็นไปด้วยความด้อยเหตุผลหรือไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย คำพิพากษาดังกล่าวนี้ก็จะกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือสมาชิกของพรรคการเมืองจนขาดความสมบูรณ์และขาดความเหมาะสม เพราะเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองและล่วงเลยไปถึงการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลในพรรคที่มิได้มีส่วนรู้เห็นเหตุแห่งการยุบพรรคนั้นด้วยแล้วก็จะทำให้บุคลากรในส่วนที่มีความรู้ความสามารถที่กำลังขับเคลื่อนพลวัตรความก้าวหน้าของประเทศไปสู่สังคมโลกและเป็นกำลังหลักสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคมและการเมืองเป็นอันสะดุดหยุดลงประกอบกับการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนั้นย่อมไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคลในการเลือกตั้งเพราะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 72 ได้กำหนดให้การใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ดังนั้นหากคำพิพากษาของศาลห้ามมิให้ไปใช้สิทธิการเลือกตั้งด้วยแล้วก็ไม่ทราบว่าคำพิพากษาดังกล่าวจะชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าจะอย่างไรก็ตามเมื่อมีรัฐธรรมนูญก็ต้องมีศาลรัฐธรรมนูญ การจะก้าวถอยหลังโดยไม่มีการตั้งองค์กรใดมาทำหน้าที่วินิจฉัยเพียงเพราะขาดตุลาการที่เป็นกลางคงจะเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ส่วนอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคต้องไปแก้ไขในรัฐธรรมนูญ กำหนดให้พรรคการเมืองถูกยุบได้ในกรณีที่ร้ายแรงจริงๆ เช่น ได้กระทำการที่มีลักษณะเป็นการล้มล้างหรืออาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือกระทำการอันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบ ร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายพรรคการเมืองอย่างร้ายแรงที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไว้รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการโอนกิจการของนักลงทุนมาเป็นของรัฐ: ศึกษากรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการในส่วนที่เหลือ(2552-08-28T09:05:26Z) ชัชทพงษ์ เชื้อดีวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายที่เกิดจากพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 โดยรัฐได้ให้หลักประกันในการลงทุนของนักลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมไว้ว่า “รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมมาเป็นของรัฐ” แต่ในความจริงนั้น กิจการของนักลงทุนอาจถูกโอนมาเป็นของรัฐได้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 42 ทำให้เกิดปัญหาความไม่มั่นใจของนักลงทุนที่มีต่อพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นปัญหาต่อการส่งเสริมการลงทุน เมื่อมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ของนักลงทุนไปทั้งหมดและจ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายให้กับนักลงทุนก็ไม่ทำให้เกิดปัญหา แต่เมื่อกิจการของนักลงทุนถูกเวนคืนไปแต่เพียงบางส่วนทำให้อสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือไม่สามารถประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ ทำให้นักลงทุนไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงควรมีกฎหมายให้เยียวยาความเสียหายอันเกิดแก่นักลงทุน จากการศึกษาพบว่าการใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ที่นำมาใช้เป็นกฎหมายกลางในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการส่วนที่เหลือของนักลงทุนนั้น พระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้มีเจตนารมณ์ที่บัญญัติมาเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการ แต่บัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ทำให้การใช้พระราช- บัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์นั้น มีผลทำให้นักลงทุนไม่ได้รับค่าทดแทนที่เป็นธรรม และไม่มีองค์กรที่กำหนดค่าทดแทนโดยตรง รวมทั้งไม่มีมาตรฐานในการกำหนดค่าสินไหมทดแทน เป็นเพียงการกำหนดตามดุลพินิจขององค์กรที่ทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเท่านั้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความไม่มั่นใจของนักลงทุน และไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการลงทุนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 และการชดเชยค่าสินไหมทดแทนที่เป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 จากการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 มาตรา 43 ให้มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการของนักลงทุนทั้งหมดและกำหนดให้มีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการของนักลงทุนในส่วนที่เหลือด้วย โดยกำหนดให้มีองค์กรที่ใช้อำนาจเป็นมาตรฐานในการพิจารณาการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือและค่าสินไหมทดแทนเพื่อความยุติธรรมในการพิจารณา และเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับนักลงทุน ตามเจตนารมณ์และให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาและที่มาของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550(2553-05-18T08:54:50Z) พิจิตร เกิดจรวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึง ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการสรรหาและที่มาของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับเดียวของไทย ที่ได้กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามีที่มาอยู่ใน 2 แนวทางคือ มาจากการเลือกตั้ง 76 คน และมาจากการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา 74 คน เหตุที่ต้องกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากระบบสรรหาก็เพราะว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.2540 ซึ่ง กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งนั้น ถูกมองว่า ทำให้ได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีความยึดโยง กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันก่อให้เกิดรัฐสภาในระบบเครือญาติเพราะว่าการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภาจำต้องอาศัยฐานคะแนนเสียงของสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎร หรือ ฐานเสียงของพรรคการเมือง และเมื่อได้รับเลือกแล้ว ก็จำต้องมีความผูกพันหรือผูกโยงและต้องตอบ แทนประโยชน์ให้ กับกลุ่มคะแนนเสียงที่ตนเองได้พึ่งพิง ทำให้สมาชิกวุฒิสภาเกิดความไม่เป็นกลาง ในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ คณะร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 จึงได้พยายามแก้ ปัญหาโดยกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบครึ่ง หนึ่งให้มีที่มาจากการสรรหาโดยกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะกรรมการสรรหา” จำนวน 7 คน ซึ่งคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คนนี้ ก็มาจาก ประธานองค์กรอิสระต่างๆ จำนวน 4 องค์กรด้วยกันคือ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และประธานคณะ กรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน และมาจากตุลาการศาลต่างๆ อีก 3 ศาลคือ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุดและประธานศาลรัฐธรรมนูญ จากการศึกษาพบว่า สมาชิกวุฒิสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นอกจากจะมีอำนาจหน้าที่ ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายแล้ว วุฒิสภายังมีอำนาจในการแต่งตั้ง ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรตรวจสอบต่างๆ อีกด้วย จะเห็นได้ว่าวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 นี้มีอำนาจมากในการที่จะให้คุณให้โทษต่อบุคคลในหลายหน่วยงาน แม้กระทั่งมีอำนาจในการที่จะถอดถอนวุฒิสมาชิกด้วยกัน เองด้วยซึ่งอำนาจของ สมาชิกวุฒิสภานั้นถือว่าเป็น 1 ใน 3 ของอำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจของประชาชน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ว่า “อำนาจ อธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย...”ดังนั้นเมื่ออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน แต่ประชาชนกลับไม่มีโอกาสในการที่จะใช้แต่กลับตกไป อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการสรรหา ซึ่งมีเพียง 7 คนเท่านั้น ซึ่งบุคคลทั้ง 7 ต่างก็ไม่มีความเชื่อมโยงกับประชาชนแต่ประการใด แต่กลับไปมีความสัมพันธ์กับอำนาจของตุลาการเพราะเหตุว่าคณะกรรมการสรรหาส่วนใหญ่เกือบทั้งหมด ก็มีที่มาจากองค์กรตุลาการทั้งสิ้น และการที่ให้คณะกรรมการสรรหาไปผูกโยงกับองค์กรตุลาการจึงทำให้อำนาจตุลาการได้ก้าวล่วงเข้าไปสู่อำนาจของนิติบัญญัติโดยตรง อันจะทำให้หลักทฤษฎีเรื่องของการแบ่งแยกอำนาจ ขององค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งสาม คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการผิดแปลกไป ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการยกร่างในขณะประเทศ ชาติอยู่ในภาวะรัฐประหาร ของกลุ่มรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ประธานคณะกรรมการสรรหาบางส่วนเช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นต้น ก็ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะปฏิรูปการปกครอง อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งในภายหลัง ประธานคณะ กรรมการเหล่านี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการสรรหา อันพอจะวิเคราะห์ได้ว่าการกล่าวอ้างที่ว่าสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ถูกกล่าวหาว่าไม่มีความเป็นกลาง จึงไม่น่าจะมีเหตุ ผลมากนัก เพราะหากดูผลของการสรรหาของสมาชิกวุฒิสภา ที่มาจากคณะกรรมการสรรหาทั้ง 7 คนนี้ ก็ไม่อาจบอกได้ว่า จะได้สมาชิกวุฒิสภาที่มีความเป็นกลางอย่างไรทั้งไม่มีหลักประกันใดๆ ที่ จะบ่งบอกว่า บุคคลผู้เป็นคณะกรรมการสรรหาก็มีความเป็นกลางเช่นกัน จากปัญหาที่พบในการศึกษาดังกล่าวเห็นว่า ประเทศไทย ยังใช้ระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนการได้มาซึ่งสมาชิกเพื่อมาทำหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติก็ควรให้มีฐานที่มาจากประชาชนเพื่อ ความเชื่อมโยงระหว่างผู้แทนกับประชาชน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะ ให้มีการแก้ไขถึงที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในส่วนที่มาจากการสรรหาว่า ให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดังเช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 โดยให้จำนวนสมาชิกวุฒิสภา เป็นไปตามสัดส่วนของประชาชนในแต่ละจังหวัดด้วยรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน(2552-09-03T07:04:39Z) ประภาพร พ่วงรอดการศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสิทธิของเจ้าของรวมในทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวมตามที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะทรัพย์สินและสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ หากเกิดกรณีการเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าร่วมกัน เช่นได้มาโดยการโอน หรือรับมรดก ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 49 ย่อมมีปัญหาว่า เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว จะอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าอย่างใดและจะสามารถนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ร่วมมาปรับใช้ได้ เพียงใด ทั้งนี้ จากการศึกษาพบว่าเครื่องหมายการค้าเป็นสิทธิในทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างซึ่งต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิไว้โดยเฉพาะ กล่าวคือ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่มีรูปร่างซึ่งได้รับรองในเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่อย่างไรก็ตามย่อมสามารถนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ร่วมมาปรับใช้ได้ เท่าที่ไม่ขัดต่อลักษณะของทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาดังเช่นประมวลกฎหมายแพ่งของญี่ปุ่น วิทยานิพนธ์ “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน” ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงความเป็นมา ความหมายของสิทธิของเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ปัญหาทางกฎหมายของสิทธิในเครื่องหมายการค้า กรณีศึกษาถึงปัญหาและแนวทาง แก้ไขนั้น เป็นการศึกษาถึงแนวคิด และหลักการของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งของประเทศไทยและ ต่างประเทศ พบว่ากฎหมายดังกล่าวไม่มีบัญญัติในเรื่องของสิทธิของผู้เป็นเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้า ในกฎหมายไทยแต่อย่างใด จึงก่อให้เกิดปัญหาหลายประการคือ (1) ปัญหาการนำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยกรรม- สิทธิ์ร่วมมาปรับใช้กับเจ้าของร่วมในเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน (2) ปัญหาการเข้าสู่สิทธิในเครื่องหมายการค้าของผู้เป็นเจ้าของร่วม (3) ปัญหาการมีคุณสมบัติของเจ้าของร่วมหลังจากที่ได้สิทธิในเครื่องหมายการค้า โดยผู้ศึกษาคาดหวังว่าจะสามารถนำไปเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงในสังคมปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายต่างๆ ดังกล่าวนี้มีเกิดขึ้นเกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่ละประเทศก็เกิดปัญหาแตกต่างกันออกไป ซึ่งในแต่ละประเทศก็ต้องหาแนวทางแก้ไขในปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศของตนอันอาจมีวิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม ตลอดจนวิถีชีวิตในแบบประเทศของตน เพื่อง่ายต่อการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้เหมาะสมต่อไปรายการ ปัญหากฎหมายในการกำกับดูแลด้านการเงินการคลังของเทศบาล(2551-02-12T15:59:21Z) จตุพร บุญชอบประเทศไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคและราชการส่วนท้องถิ่น เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ถือกำเนิดมาตั้งแต่ พ.ศ.2478 เทศบาลได้รับการกระจายอำนาจทางปกครองให้สามารถบริหารกิจการและปกครองตัวเองได้ ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ปัจจุบันเทศบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,134 แห่ง เทศบาลทั้งสามรูปแบบกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ภูมิภาคของประเทศไทย ในการบริหารและการปกครองตนเองของเทศบาล ตามกรอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเทศบาลจะบริหารกิจการของตน ภายใต้การกำกับดูแลของราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตามกฎหมาย ในด้านการบริหารงานการเงินการคลังของเทศบาลในปัจจุบัน พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยสามารถออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยเพื่อวางแนวทางการจัดการด้านการเงินการคลัง การงบประมาณ การรักษาทรัพย์สิน การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน การจัดหาพัสดุและการจ้างเหมาขึ้นไว้ ดังนั้นในการบริหารงานด้านการเงินการคลังของเทศบาลจึงต้องถือปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย 3 ฉบับ คือ 1. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2541 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 และ 3) พ.ศ.2543 2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ.2535 3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงินการเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2547 ระเบียบทั้งสามฉบับ มีลักษณะเป็นการควบคุมดูแลเทศบาล โดยกำหนดให้เทศบาลทั่วทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการตั้งงบประมาณ วิธีการบริหารพัสดุ การรับเงิน การเบิกจ่าย การเก็บรักษาเงิน ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วศักยภาพของเทศบาลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันเป็นอย่างมากจึงก่อให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กำหนดให้ราชการส่วนกลางมีหน้าที่เพียงการกำกับดูแลราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ดังนั้น ระเบียบกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับ ควรจะได้มีการปรับปรุงให้อิสระแก่เทศบาลในการใช้ดุลยพินิจในการกำหนดแนวทางการบริหารองค์กรของตนเองมากยิ่งขึ้น ให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ.2540 และให้สอดคล้องกับขนาดของเทศบาล อันจะทำให้เทศบาลมีความคล่องตัวในการบริหารงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดได้ดียิ่งขึ้นรายการ ปัญหากฎหมายในการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า(2552-08-28T03:59:27Z) เอกวิทย์ สารการแม้ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเมื่อมีการละเมิดสิทธิเกิดขึ้น ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาทางกฎหมายหลายประเด็นด้วยกันสืบเนื่องมาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมีผลบังคับใช้อยู่ในประเทศไทยมีหลายฉบับด้วยกันและมีความคาบเกี่ยวกันระหว่างบทบัญญัติของกฎหมาย จึงก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำมาตรการทางอาญามาใช้บังคับกับความผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ซึ่งจากการศึกษาสามารถสรุปปัญหาที่พบได้ ดังนี้ 1. ปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายในการให้ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้าระหว่างพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 กับประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องของความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 2. ปัญหาเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษทางอาญา เกี่ยวกับความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนทั้งในและนอกราชอาณาจักร 3. ปัญหาจากคำวินิจฉัยของศาลฎีกาซึ่งให้เหตุผลในคำพิพากษาแตกต่างกับเหตุผลของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ 4. ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอันเนื่องมาจากการนำมาตรการทางอาญามาบังใช้ในความรับผิดเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนของบทบัญญัติตามกฎหมายและเพื่อให้การบังคับใช้ของกฎหมายมีความชัดเจนและมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ควรยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273-275 เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนการบังคับใช้ของกฎหมายและการลงโทษทางอาญา เพื่อเพิ่มความเป็นธรรมกับคนไทยผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนภายในราชอาณาจักร และจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางเดียวกันกับต่างประเทศ 2. บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534 มาตรา 108-109 กรณีเกี่ยวกับความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า เนื่องจากการปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้ามีความใกล้เคียงกันอย่างมากควรเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “การปลอมเครื่องหมายการค้า” และ “การเลียนเครื่องหมายการค้า” เพื่อให้เกิดความชัดเจนและไม่ก่อให้เกิดความสับสนเมื่อเกิดกรณีความผิดฐานปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้า หรือหากไม่มีการเพิ่มเติมความหมายก็ควรพิจารณารวมบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 108-109 ไว้ด้วยกัน เพื่อขจัดปัญหาความสับสนระหว่างความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้า 3. หน่วยงานภาครัฐควรมีการพิจารณาประเด็นปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายอย่างจริงจัง ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย หรือยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายที่เป็นปัญหาอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศ เพื่อสภาพการบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลต่อไป 4. ในกรณีที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมาย ควรยกเลิกความผิดฐานปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าตามประมวลกฎหมายอาญาทั้งหมด แล้วแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า เพื่อขจัดปัญหาความซ้ำซ้อนของกฎหมายและเพิ่มเติมความผิดเกี่ยวกับการปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าโดย การกำหนดโทษทางอาญาให้ผู้กระทำความผิดที่มีสถานะของการกระทำความผิดมีความร้ายแรงไม่เท่ากันได้รับโทษต่างกัน
- «
- 1 (current)
- 2
- 3
- »