กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4870
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL ENFORCEMENT OF CONSUMER PROTECTION LAW: CASE STUDY ON TOY PRODUCTS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปราณิศา พาน้อย
คำสำคัญ: มาตรฐานสินค้า
การเรียกคืนสินค้า
สินค้าที่อาจเป็นอันตราย ต่อผู้บริโภค
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปราณิศา พาน้อย. 2559. "ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค: ศึกษากรณีผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็ก." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 2559
บทคัดย่อ: ศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยและการเรียกคืนสินค้าที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กเพื่อให้เกิดการพัฒนากฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคและเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยผู้วิจัยขอเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานบังคับในผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กให้มีความเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น โดยเทียบเคียงกับกฎหมายของสหภาพยุโรปและขอเสนอให้มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เรียกคืนสินค้าไว้ให้ชัดเจนในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 นอกจากนี้ขอเสนอให้แก้ไขคำนิยามของคำว่า “สินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค” โดยแก้ไขเป็น “สินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค” ให้หมายความว่า สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย สุขภาพ อนามัย หรือจิตใจของผู้บริโภค ทั้งนี้รวมถึงสินค้าที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานบังคับ หรือสินค้าที่อยู่ภายใต้คำสั่งตามมาตรา 36 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ด้วย
รายละเอียด: หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4870
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น