กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5484
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: REVIEWING ON THE PROSECUTORIAL DISCRETION IN A NON-PROSECUTION ORDER UNDER THE CRIMINAL PROCEDURE CODE, ARTICLE 145/1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงศกร เคยสนิท
คำสำคัญ: การตรวจสอบดุลพินิจ
ระบบการดำเนินคดีอาญา
หลักการดำเนินคดีอาญา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พงศกร เคยสนิท. 2560. "การตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_พงศกร_2560
บทคัดย่อ: การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 โดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 ยังไม่ทำให้การตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในประเทศไทยมีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากเป็นการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ โดยผู้บัญชาการ หรือรองผู้บัญชาการ ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานสอบสวน อันเป็นองค์กรเดียวกับพนักงานสอบสวนที่ทำการสอบสวน ไม่ใช่การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการโดยองค์กรภายนอกที่จะทำให้การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้น หากมีการแก้ไขกฎหมายให้มีระบบการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ โดยที่บัญญัติให้องค์กรศาลเป็นผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรอื่นนอกเหนือจากองค์กรตำรวจซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาในความผิดนั้น และองค์กรอัยการซึ่งเป็นองค์กรผู้ใช้ดุลพินิจทำคำสั่งไม่ฟ้องในคดีนั้น และยังเป็นการให้องค์กรผู้ที่มีความรู้ความสามารถไม่ด้อยกว่าพนักงานอัยการผู้ที่สั่งไม่ฟ้อง จะทำให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) การใช้ดุลพินิจออกคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการในประเทศไทยนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ยังไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการทำความเห็นของผู้ที่ทำการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการเอาไว้ ว่าองค์กรที่ทำการตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการจะต้องทำความเห็นภายในกรอบระยะเวลาเท่าไหร่ ทำให้ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าของการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย ดังนั้น จึงควรที่จะมีการแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาทำความเห็นขององค์กรที่ทำการตรวจสอบคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการไว้ให้มีกำหนดแน่นอน อันเป็นการเร่งรัดองค์กรที่ทำการตรวจสอบให้ทำความเห็นภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้การดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาดำเนินไปอย่างไม่ล่าช้า
รายละเอียด: พงศกร เคยสนิท. การตรวจสอบดุลพินิจคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5484
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท
LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น