กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5519
ชื่อเรื่อง: ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS ON AUTHORITY OF CRIMINAL INQUIRY OF ADMINISTRATION OR POLICE OFFICIAL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิรินภา สมภาร
คำสำคัญ: การสอบสวนคดีอาญา
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
พนักงานสอบสวน
อำนาจการสอบสวน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ศิรินภา สมภาร. 2560. "ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 56502026_ศิรินภา สมภาร
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการสอบสวนคดีอาญา (Criminal Inquiry) ของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (Administrative or Police Official) ความหมาย หลักการ แนวคิดและทฤษฎี มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของไทยและของต่างประเทศ ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ และแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ จากการศึกษาและพิเคราะห์พบว่า บทบัญญัติมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาถือเป็นหลักทั่วไป (General Principle) เกี่ยวกับอำนาจพนักงานสอบสวน (Investigation Authority) บัญญัติว่า “ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ปลัดอำเภอ และข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายเขตอำนาจของตนได้” โดยบทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ มีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาประเภทหนึ่งประเภทใดโดยเฉพาะ จึงทำให้พนักงานสอบสวนดังกล่าวมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาทั้งปวง ดังนี้ เจ้าพนักงานที่มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน สำหรับพนักงานสอบสวนในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ตามมาตรา 18 นั้น มีทั้งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
รายละเอียด: ศิรินภา สมภาร. ปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาญาของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5519
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1.ปก.pdf53.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.ใบรับรองวิทยานิพนธ์.pdf92.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
3.บทคัดย่อ.pdf160.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
4.กิตติกรรมประกาศ.pdf97.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
5.สารบัญ.pdf114.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
6.บทที่ 1.pdf282.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
7.บทที่ 2.pdf714.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
8.บทที่ 3.pdf674.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
9.บทที่ 4.pdf697.23 kBAdobe PDFดู/เปิด
10.บทที่ 5.pdf313.32 kBAdobe PDFดู/เปิด
11.บรรณานุกรม.pdf245.93 kBAdobe PDFดู/เปิด
12.ผนวก ก-จ.pdf160.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
12.ภาคผนวก ก. ข้อบังคับ 109.pdf2.54 MBAdobe PDFดู/เปิด
12.ภาคผนวก ข. ข้อบังคับปี 23 .pdf2.84 MBAdobe PDFดู/เปิด
12.ภาคผนวก ค. กฎกระทรวงกำหนดความผิดอาญาบางประเภท.pdf49.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
12.ภาคผนวก ง. คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 419.pdf6.88 MBAdobe PDFดู/เปิด
12.ภาคผนวก จ. บันทึกคณะกรรมการกฤษฎีกา.pdf67.9 kBAdobe PDFดู/เปิด
13.ประวัติผู้เขียน.pdf79.62 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น