Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5925
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorกุลชาติ อารีราษฎร์พิทักษ์en_US
dc.date.accessioned2019-02-22T08:56:03Z-
dc.date.available2019-02-22T08:56:03Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5925-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านแรงงานตามหลักสากลและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษาพบปัญหาในเรื่องของคำนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ยังไม่ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างแรงงานข้ามชาติทั้งที่เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและการถูกบังคับใช้แรงงานส่งผลทำให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ.1965 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 และพบปัญหาในเรื่องลูกจ้างไม่สามารถปฏิเสธการทำงาน ในกรณีที่ต้องทำงานในสภาพเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและสุขภาพนั้นยังมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน ค.ศ.1981 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 อีกทั้งยังมีช่องว่างทางกฎหมายในมาตรา 42 ที่นายจ้างอาจใช้กระทำต่อลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริงผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหา ของคำนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ในมาตรา 4 ให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างแรงงานข้ามชาติทั้งที่เข้าเมืองมาโดยถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย เพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 6 วรรคสามในเรื่องของการห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการห้ามบังคับใช้แรงงาน การเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 14 วรรคสอง ให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธการทำงานในกรณีที่ต้องทำงานในสภาพเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ การเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 42 เพื่อลดช่องว่างทางกฎหมาย ที่นายจ้างอาจใช้กระทำต่อลูกจ้าง และให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริงen_US
dc.subjectความปลอดภัยen_US
dc.subjectอาชีวอนามัยen_US
dc.subjectสภาพแวดล้อมในการทำงานen_US
dc.subjectแรงงานข้ามชาติen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554en_US
dc.title.alternativePROBLEMS AND OBSTRUCTION IN ENFORCING THE SAFETY, OCCUPATIONAL HEALTH AND WORK ENVIRONMENT ACT, B.E.2554en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf48.73 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf113.92 kBAdobe PDFView/Open
3acknowledge.pdf69.65 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf118.5 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf173.41 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf419.55 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf374.05 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf258.83 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf118.32 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf116.45 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf218.03 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf63.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.