กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5925
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS AND OBSTRUCTION IN ENFORCING THE SAFETY, OCCUPATIONAL HEALTH AND WORK ENVIRONMENT ACT, B.E.2554
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กุลชาติ อารีราษฎร์พิทักษ์
คำสำคัญ: ความปลอดภัย
อาชีวอนามัย
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
แรงงานข้ามชาติ
วันที่เผยแพร่: 2560
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้สามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านแรงงานตามหลักสากลและสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ผลการศึกษาพบปัญหาในเรื่องของคำนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ยังไม่ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างแรงงานข้ามชาติทั้งที่เข้าเมืองมาโดยถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและการถูกบังคับใช้แรงงานส่งผลทำให้แรงงานข้ามชาติไม่สามารถเข้าถึงการคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ.1965 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 และพบปัญหาในเรื่องลูกจ้างไม่สามารถปฏิเสธการทำงาน ในกรณีที่ต้องทำงานในสภาพเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายและสุขภาพนั้นยังมิได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ซึ่งไม่สอดคล้องกับอนุสัญญา ฉบับที่ 155 ว่าด้วยความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงาน ค.ศ.1981 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ค.ศ. 1966 อีกทั้งยังมีช่องว่างทางกฎหมายในมาตรา 42 ที่นายจ้างอาจใช้กระทำต่อลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริงผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะว่าเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ด้วยการเพิ่มเติมเนื้อหา ของคำนิยามคำว่า “ลูกจ้าง” ในมาตรา 4 ให้ครอบคลุมไปถึงลูกจ้างแรงงานข้ามชาติทั้งที่เข้าเมืองมาโดยถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย เพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 6 วรรคสามในเรื่องของการห้ามเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการห้ามบังคับใช้แรงงาน การเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 14 วรรคสอง ให้ลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฏิเสธการทำงานในกรณีที่ต้องทำงานในสภาพเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย และสุขภาพ การเพิ่มเติมเนื้อหาในมาตรา 42 เพื่อลดช่องว่างทางกฎหมาย ที่นายจ้างอาจใช้กระทำต่อลูกจ้าง และให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองอย่างแท้จริง
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5925
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf48.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf113.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknowledge.pdf69.65 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf118.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf173.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf419.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf374.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf258.83 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf118.32 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf116.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
11appen.pdf218.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
12profile.pdf63.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น