กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6417
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเสนอขายประกันอุบัติเหตุร่วมกับบัตรเอทีเอ็ม ของธนาคารพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL PROBLEMS CONCERNING OFFERINGS OF ACCIDENT INSURANCE TOGETHER WITH ATM CARD
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมเจตน์ รัตนวารินทร์ชัย
คำสำคัญ: บัตรเอทีเอ็มร่วมกับประกันอุบัติเหตุ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สมเจตน์ รัตนวารินทร์ชัย. 2562. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเสนอขายประกันอุบัติเหตุร่วมกับบัตรเอทีเอ็ม ของธนาคารพาณิชย์." สารนิพนธ์รนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_สมเจตน์ รัตนวารินทร์ชัย_T184591_2562
บทคัดย่อ: “การประกันภัยอุบัติเหตุ” เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิตก็จะได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางธนาคารมักจะเสนอขายร่วมกับการขอใช้บริการบัตรเอทีเอ็ม การขายประกันอุบัติเหตุร่วมกับบัตรเอทีเอ็มของนายหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคาร โดยไม่มีการแสดงใบอนุญาตและหนังสือมอบอำนาจ ไม่มีการอธิบายหลักเกณฑ์เงื่อนไขในสัญญาประกันชีวิต ไม่มีการส่งมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ส่วนการชำระเงิน การหักบัญชีหรือการชำระค่าเบี้ยประกันไปพร้อม ๆ กับค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเอทีเอ็มของธนาคาร เมื่อไม่มีการออกใบเสร็จการรับชำระเงินจึงไม่อาจทราบได้ว่าเป็นการชำระเบี้ยประกันอุบัติเหตุ หรือค่าธรรมเนียมการใช้บัตรแบ่งออกเป็นแต่ละส่วนเป็นจำนวนเท่าไร ทั้งที่ สัญญาประกันภัยจึงเกิดขึ้นแล้วนับตั้งแต่คำเสนอของนายหน้าซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ชี้ชวนต้องตรงกันกับคำสนองจนผู้เอาประกันตกลงเข้าทำสัญญาโดยที่ผู้เอาประกันภัยยังไม่เห็นเนื้อความในกรมธรรม์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หลักฐานเพียงอย่างเดียวเกี่ยวกับการทำสัญญาประกันอุบัติเหตุ คือบัตรเอทีเอ็ม ซึ่งผู้เอาประกันใช้ในการแสดงสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกัน ทำให้ขาดหลักฐานเมื่อมีการใช้สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาล และในกรณีที่ผู้เอาประกันมีสิทธิอย่างอื่นอยู่และได้ใช้ต้นฉบับค่ารักษาพยาบาลในการใช้สิทธิเรียกร้องไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถที่จะแสดงหลักฐานตัวจริงเพื่อเบิกค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยได้ซึ่งขัดแย้งกับแนวศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สิทธิของบุคคลที่จะได้รับการรักษาพยาบาลหรือค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายอื่นนั้นเป็นสิทธิที่กำหนดไว้โดยเฉพาะในกฎหมายนั้นๆซึ่งบุคคลชอบที่จะใช้สิทธินั้น ด้วยเหตุนี้ ควรเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาโดยจะต้องแยกพื้นที่ขายภายในธนาคารที่ชัดเจนต่างหากจากการให้บริการทั่วไปและมีเจ้าหน้าที่ธนาคารที่คอยให้คำอธิบายสิทธิหน้าที่ตามสัญญา และกำหนดให้แสดงใบอนุญาตและระบุชื่อและเลขที่ใบอนุญาตของนายหน้าประกันรายนั้นลงในกรมธรรม์ด้วย ควรกำหนดให้นายหน้าเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือตัวแทนของธนาคารที่ทำการเสนอขายประกันอุบัติเหตุจะต้องส่งมอบสำเนากรมธรรม์หรือกรมธรรม์ตัวจริงให้ในวันที่ทำสัญญาประกันอุบัติเหตุ และควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยกำหนดให้มีการระบุจำนวนค่าเบี้ยประกันภัยและค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเอทีเอ็ม แยกออกจากกันอย่างชัดเจนและควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อให้รายละเอียดที่ชัดเจนเหมาะสม ห้ามมิให้บริษัทผู้รับประกันภัยปฏิเสธความรับผิดไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ผู้เอาประกันได้ใช้สิทธิตามกฎหมายอื่นในการเบิกค่ารักษาพยาบาล
รายละเอียด: สมเจตน์ รัตนวารินทร์ชัย. ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการเสนอขายประกันอุบัติเหตุร่วมกับบัตรเอทีเอ็ม ของธนาคารพาณิชย์. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6417
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น