Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6971
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งก่อนเสนอคดีต่อศาล
Authors: วงศ์วศิษฎ์ วรกิจโสภณไพศาล
Keywords: การไกล่เกลี่ย
ข้อพิพาททางแพ่ง
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
Citation: -
Series/Report no.: -
Abstract: เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ ตามที่กฎหมายรับรองคุ้มครองกำหนดไว้ ย่อมถือได้ว่ามีข้อพิพาทระหว่างบุคคลเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งในการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้ยุติลงได้นั้น นับว่ามีหลายวิธีด้วยกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกวิธีระงับข้อพิพาทของคู่กรณี ซึ่งการระงับข้อพิพาทโดยมี บุคคลกลางในการชี้ขาดตัดสิน ด้วยการระงับข้อพิพาทโดยศาล ถือว่าเป็นการระงับข้อพิพาทที่ ได้รับความนิยม และมีประสิทธิภาพระบบหนึ่ง แต่กระนั้นก็ตามการระงับข้อพิพาทในระบบนี้ก็ยัง มิอาจถือได้ว่าเป็นระบบระงับข้อพิพาทที่ดีที่สุด เนื่องจากกระบวนพิจารณาคดีของศาลแต่ละ ขั้นตอนต้องดำเนินตามกฎหมายวิธีสบัญญัติอย่างเคร่งครัดและการชี้ขาดต้องอาศัยพยานหลักฐาน จึงทำให้ผลของการระงับข้อพิพาทเกิดขึ้นได้ล่าช้า อีกทั้งกระบวนพิจารณาเป็นเรื่องที่มีความ สลับซับซ้อน ผู้เสียหายหรือคู่กรณีไม่อาจที่จะดำเนินคดีได้ด้วยตนเอง จึงทำให้เกิดความจำเป็นที่ จะต้องดำเนินคดีด้วยทนายความ และขณะเดียวกันข้อพิพาทที่เป็นสิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง การนำ คดีขึ้นสู่ศาลเพื่อระงับข้อพิพาทก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการระงับข้อพิพาท โดยการนำคดีสู่ศาล นอกจากเป็นวิธีที่ไม่สะดวก รวดเร็วเท่าที่ควรแล้ว ยังเป็นผลให้ต้องเสีย ค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากขึ้น ไม่ว่าค่าธรรมเนียมศาลหรือค่าทนายความก่อนที่จะมีคำชี้ขาดตัดสิน ซึ่งหากข้อพิพาทใดที่มีการเรียกร้องจำนวนเงินไม่มาก แม้ว่ากฎหมายเปิดโอกาสสามารถให้ฟ้องได้ ด้วยตนเอง ก็ยังคงเกิดอุปสรรคแก่ผู้เสียหายเมื่อเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาเช่นเดิม ด้วยเหตุนี้การ ระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ซึ่งไม่ว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจะเนื่องมาจากกรณีตาม กฎหมายใดก็ตาม หากมิได้มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน การระงับข้อพิพาทที่ เกิดขึ้นโดยกระบวนการไกล่เกลี่ยก็สามารถทำได้ทั้งสิ้น เนื่องจากว่าการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการ เช่นนี้เป็นวิธีการที่สะดวก รวดเร็ว ปราศจากขั้นตอนที่สลับซับซ้อน คู่กรณีสามารถเข้าถึง กระบวนการยุติธรรมได้ด้วยตนเอง และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการยุติข้อพิพาท สำหรับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งในกรณีที่ความผิดเกิดจากการกระทำละเมิด เมื่อมี การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเสนอคดีต่อศาล จากการศึกษาพบว่ากฎหมายสำหรับการไกล่เกลี่ยข้อ พิพาทก่อนเสนอคดีต่อศาลนั้น ยังมีจำนวนจำกัดไม่สอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคม จึงส่งผลให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งก่อนเสนอคดีต่อศาลกรณีที่เป็นความผิดเกี่ยวกับการ กระทำละเมิดและผลที่เกิดจากการระงับข้อพิพาทเกิดปัญหาทางกฎหมาย คือ ปัญหาอำนาจในการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ปัญหาอำนาจการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและการตีความสัญญา ปัญหาผลของการตกลงระงับข้อพิพาทเกิดการขัดกันหรือตัดสิทธิทางกฎหมาย ในระหว่างกฎหมาย สารบัญญัติซึ่งกันและกัน และปัญหาอายุความ ซึ่งปัญหาเหล่านี้โดยหลักแล้วเกิดจากกฎหมายที่มีอยู่ มีจำนวนจำกัด ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น ฉะนั้นเพื่อให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการที่จะมีกฎหมายเฉพาะขึ้นมาเพื่อสนับสนุน รองรับ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเสนอ คดีต่อศาล และสนับสนุนให้ภาคประชาชนตลอดจนองค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการ ยุติธรรม ด้วยกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเสนอคดีต่อศาล ซึ่งเมื่อมีระบบกฎหมายเพื่อการ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนเสนอคดีต่อศาล และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยุติข้อพิพาทแล้ว ย่อมส่งผลให้ข้อพิพาทที่เกิดขึ้นยุติลงได้รวดเร็ว แม้ค่าเสียหายเพียงจำนวนน้อยก็จะได้รับการเยียวยา ซึ่งถือว่าคดีทุกประเภทจะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอภาค ส่วนคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณา ของศาลก็จะลดปริมาณลง การพิจารณาพิพากษาก็จะดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว ปริมาณคดีที่ค้างก็จะ ลดลง ผลคำชี้ขาดก็เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6971
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf46.54 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf92.85 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf63.86 kBAdobe PDFView/Open
content.pdf97.41 kBAdobe PDFView/Open
chap 1.pdf155.94 kBAdobe PDFView/Open
chap 2.pdf403.29 kBAdobe PDFView/Open
chap 3.pdf530.67 kBAdobe PDFView/Open
chap 4.pdf212.49 kBAdobe PDFView/Open
chap 5.pdf268.27 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf107.51 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf50.91 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.