กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7458
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MEDIA EXPOSURE BEHAVIOR FACTORS INFLUENCING SURGICAL DECISION MAKING OF UNIVERSITY STUDENTS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุวรรณ ว่าบ้านพลับ
คำสำคัญ: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ
การตัดสินใจ
การทำศัลยกรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: จารุวรรณ ว่าบ้านพลับ. 2561. "พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจ ของการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย." วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลียศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยที่มีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีสาวสวยที่สุดในประเทศไทยอันดับที่ 1-5 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบการแจกแจงแบบที (t test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยทางสังคมมีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา และ ชั้นปีที่ศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ประเภทสื่อที่เปิดรับ ประเภทสื่อที่เปิดรับ วันที่เปิดรับ ช่วงเวลาที่เปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ เหตุผลในการเปิดรับ และเคยมีการทำศัลยกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจในการทำศัลยกรรมของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านสถานที่จัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านกระบวนการ และปัจจัยด้านหลักฐานทางกายภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7458
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CMU-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น