Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/779
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทัยเลิศ, ลือปือ-
dc.date.accessioned2551-02-16T08:10:39Z-
dc.date.available2551-02-16T08:10:39Z-
dc.date.issued2551-02-16T08:10:39Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/779-
dc.description.abstractสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมาย มาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณี เนื่องจากธุรกิจการค้าประเวณีซึ่งมีการเติบโตขึ้น อย่างรวดเร็ว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากสภาพการด้อยการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม รวมถึง การกระจายรายได้สู่ประชาชนสู่ชนบทเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศ เกิดการชะลอตัว และปัญหาที่ตามมาคือปัญหาความยากจนของคนในประเทศ จนถูกมองว่า เป็นประเทศที่ด้อยพัฒนาเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม จึงเกิดกลุ่มผู้แสวงหาประโยชน์ การค้าประเวณี จึงกลายเป็นแหล่งธุรกิจตลาดสินค้าอุตสาหกรรมบริการหรือช่องทางสร้างรายได้ ที่ลงทุนต่ำได้กำไรสูง ก่อให้เกิดเงินจำนวนมหาศาลเข้ามาในการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แม้รัฐบาลได้ออกกฎหมายที่เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามการค้า การใช้บริการหรือการแสวงหากำไรจากธุรกิจการค้าประเวณีก็ยังไม่อาจสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างแท้จริง การป้องกัน การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีจะเป็นผลสำเร็จได้ส่วนหนึ่งจะต้องอาศัยมาตรการ ทางกฎหมายที่ชัดเจน จากการศึกษากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี จะเห็นได้ว่ากฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันนั้น ใช้แนวทางในการแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีตามแนวคิดแบบปรามการค้าประเวณี แต่ในทางปฏิบัติแล้วกลับพบว่ามีการใช้ช่องว่างของกฎหมาย และในทางกลับกันกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการลักลอบเปิดสถานค้าประเวณีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้น ดังนั้นปัญหาทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาการลักลอบการค้าประเวณีจึงไม่ใช่ การที่ประเทศไทยขาดกฎหมายที่จะใช้บังคับกับปัญหาที่มีอยู่ เป็นแต่เพียงว่ากฎหมายการค้าประเวณีในปัจจุบันที่มีอยู่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม ก่อให้เกิดปัญหาการหลบเลี่ยงกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพขึ้น ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีในปัจจุบันไม่ได้ผลเท่าที่ควร ผู้วิจัยจึงเห็นว่าแนวทางที่จะแก้ไขป้องกันการค้าประเวณีจะต้องมีการปรับปรุงระเบียบกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กันไปพร้อมกับการแก้ไขปัญหาที่ต้นตอของปัญหา การแก้ไขปรับปรุงระเบียบและกฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขปัญหาเพียงปลายเหตุ ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการค้าประเวณีจะไม่อาจบรรลุความสำเร็จได้เลย ถ้าพิจารณาเฉพาะมาตรการกฎหมายซึ่งยังมีความบกพร่องทั้งตัวบทกฎหมายและทางปฏิบัติเพียงอย่างเดียว การแก้ปัญหาย่อมไม่ประสบความสำเร็จเพราะโดยความเป็นจริงกฎหมายเป็นเพียงมาตรการหนึ่งในหลายๆ มาตรการที่ประกอบกันเข้าเป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ และการพัฒนาประเทศในอนาคตen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectการค้าประเวณีen_US
dc.titleปัญหาการนำมาตรการทางกฎหมายมาใช้ในการแก้ไขปัญหาธุรกิจการค้าประเวณีen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.