Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/783
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเฉลิมวัฒน์, วิมุกตายน-
dc.date.accessioned2551-02-16T08:50:14Z-
dc.date.available2551-02-16T08:50:14Z-
dc.date.issued2551-02-16T08:50:14Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/783-
dc.description.abstractปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตบังคับใช้ การให้ความคุ้มครองผู้บริโภคจึงอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อจำกัดการคุ้มครองหลายประการ จึงได้มีการนำหลักกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิดแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้ ในการฟ้องร้องคดีเพื่อให้ผู้บริโภคหรือผู้ที่ได้รับความเสียหาย ได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากความชำรุดบกพร่องของสินค้าและบริการ แต่การให้คุ้มครองผู้บริโภคตามหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวก็ยังมีประเด็นปัญหาหลายประเด็น คือ 1. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามรูปแบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ที่ยังมีความ แตกต่างกัน เกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์และการนำหลักความรับผิดมาใช้ 2. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เกี่ยวกับข้อจำกัดอยู่เฉพาะคู่กรณีสัญญา ทำให้ผู้เสียหายที่ไม่ใช่คู่กรณีสัญญาและไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้บริโภคตามพระราชบัญญัตินี้ และไม่ได้กำหนดสิทธิของผู้บริโภคให้มีผู้รับผิดและชดใช้เยียวยาต่อความเสียหาย 3. ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคตามกฎหมายลักษณะสัญญาและลักษณะละเมิด ซึ่งตามกฎหมายลักษณะสัญญาก็จะให้ความคุ้มครองเฉพาะคู่สัญญาเท่านั้น ส่วนกฎหมายลักษณะละเมิดก็มีความยุ่งยากเกี่ยวกับภาระพิสูจน์ 4. ปัญหาการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ แม้จะสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมายลักษณะละเมิด แต่ก็มีภาระและค่าใช้จ่ายและไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าจะได้รับการชดใช้ความเสียหายหรือไม่ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น การศึกษาในครั้งนี้เห็นว่ากฎหมายที่ใช้ในการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่มีผลบังคับใช้ของประเทศไทยในปัจจุบันมีแนวทางและหลักการที่ดีอยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขในรายละเอียดบางส่วนเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการที่จะได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายหรือสิทธิที่จะได้มีผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายจากสินค้าหรือบริการนั้น โดยการนำหลักความรับผิดเด็ดขาดมาใช้ หรือการขยายขอบเขตการคุ้มครองผู้บริโภคให้ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ผู้ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการโดยตรง และลดภาระในกรณีที่ต้องนำพิสูจน์ถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ผลิตหรือผู้ขายของโจทก์ เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าและบริการมีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมมีความสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น และเป็นบทบัญญัติที่สอดคล้องกับกฎหมายในต่างประเทศ หรือหากไม่มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติที่มีอยู่แล้วเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ก็ควรที่จะผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์มาใช้บังคับ เพื่อใช้เป็นกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมดุลระหว่างผู้ผลิตสินค้าและหรือผู้ให้บริการกับผู้บริโภคด้วย ซึ่งถ้าหากสามารถผลักดันจนประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถเป็นกฎหมายในการคุ้มครองผู้บริโภค ให้มีหลักประกันเกี่ยวกับการคุ้มครองและการชดใช้เยียวยาความเสียหายจากความชำรุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์นั้น อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectกฎหมายen_US
dc.subjectผลิตภัณฑ์en_US
dc.subjectความรับผิดen_US
dc.subjectสินค้าen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตสินค้าen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.