กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7993
ชื่อเรื่อง: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: MEDIATION OF DISPUTE BEFORE FILING A LAWSUIT: CASE STUDY OF ADMINISTRATIVE CASE CONCERNING THE ENVIRONMENT
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนีย์ ไชยแสน
คำสำคัญ: การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี
วิธีพิจารณาคดีปกครอง
คดีปกครอง
คดีสิ่งแวดล้อม
คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ทัศนีย์ ไชยแสน. 2564. "การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดี ศึกษากรณีคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Administrative Case relating to Environment) ซึ่งเป็นคดีมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากคดีปกครองอื่น เนื่องจากความเสียหาย (Damage) ที่เกิดขึ้นในคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมักสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์อย่างร้ายแรง หากปล่อยให้เนิ่นช้าออกไปอาจยากที่จะแก้ไขให้กลับสู่สภาวะปกติได้ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขเยียวยา (Remedy) ที่รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งการระงับข้อพิพาท (Dispute Resolution) ดังกล่าวสามารถดำเนินการได้สองวิธี คือ (1) การฟ้องเป็นคดีพิพาทต่อศาลปกครอง (Filing a Lawsuit to the Administrative Courts) และ (2) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) อย่างไรก็ตาม การดำเนินคดีที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมยังคงมีปัญหาบางประการ ทั้งความล่าช้าในการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทซึ่งเป็นกรณีที่ดำเนินการภายหลังจากที่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้ว และเมื่อพิจารณาบทบัญญัติในกฎหมายต่าง ๆ แล้วจะเห็นได้ว่า ไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดให้อำนาจศาลปกครองนำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาปรับใช้ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยได้นำวิธีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้บังคับเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยนำมาปรับใช้ทั้งในกรณีข้อพิพาททางแพ่ง (Civil Dispute) และข้อพิพาททางอาญา (Criminal Dispute) แต่กลับไม่ปรากฏว่ามีการนำมาปรับใช้ในข้อพิพาททางปกครอง หากพิจารณากฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีแล้วจะเห็นได้ว่ากฎหมายดังกล่าวมีการวางหลักเกณฑ์โดยกำหนดให้นำระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีมาใช้ในกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถช่วยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สิ่งแวดล้อมได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม (Mediation of Environmental Dispute) ดังกล่าว มีกระบวนการที่กระชับและสั้น สามารถระงับข้อพิพาทลงได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับลักษณะข้อพิพาททางสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับคดีสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้เขียนเห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยแก้ไขเพิ่มเติม (Amendment) กำหนดให้อำนาจศาลปกครองดำเนินกระบวนการยุติธรรมทางปกครองโดยระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ และเห็นควรให้ยกร่างระเบียบของที่ประชุมใหญตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... โดยกำหนดหลักเกณฑ์และการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนการฟ้องคดีในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หากมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว อาจส่งผลให้การดำเนินคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องและเป็นไปตามนิติวิธีทางกฎหมายปกครอง (Juristic Method of Administrative Law) ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม โดยอาจส่งผลให้ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย (Aggrieved or Injured Person) ได้รับการแก้ไขเยียวยาและฟื้นฟูโดยเร็ว ทั้งยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่กรณี และลดจำนวนคดีพิพาทที่ขึ้นสู่ศาลปกครอง นอกจากนี้ ยังทำให้กระบวนการระงับข้อพิพาททางปกครองที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองสามารถดำเนินการได้โดยมีประสิทธิภาพ (Effective) และบรรลุผล (Achievement) มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม (Right to Access to Justice) โดยเพิ่มทางเลือกให้แก่ประชาชนในการยุติข้อพิพาททางปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยวิธีแห่งความสมานฉันท์ (Reconciliation) และสันติวิธี (Peaceful Way) ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7993
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1. หน้าปก.pdf42.6 kBAdobe PDFดู/เปิด
2. ปก Eng.pdf28.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
3. บทคัดย่อ-TH.pdf80.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
4. บทคัดย่อ-En.pdf48.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
5. กิตติกรรมประกาศ.pdf52.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
6. สารบัญ.pdf132.77 kBAdobe PDFดู/เปิด
7. บทที่ 1.pdf212.1 kBAdobe PDFดู/เปิด
8. บทที่ 2.pdf693.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
9. บทที่ 3.pdf1 MBAdobe PDFดู/เปิด
10. บทที่ 4.pdf313.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
11. บทที่ 5.pdf204.82 kBAdobe PDFดู/เปิด
12. บรรณานุกรม.pdf230.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
13. ภาคผนวก.pdf19.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
14 ภาคผนวก ก.pdf595.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
15. ภาคผนวก ข.pdf125.49 kBAdobe PDFดู/เปิด
16 ภาคผนวก ค.pdf132.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
17 ภาคผนวก ง.pdf94.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
18 ภาคผนวก จ.pdf185.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
19 ภาคผนวก ฉ.pdf101.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
20 ภาคผนวก ช.pdf96.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
21 ภาคผนวก ซ.pdf90.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
22 ภาคผนวก ฌ.pdf100.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
23 ภาคผนวก ญ.pdf86.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
24 ภาคผนวก ฎ.pdf147.84 kBAdobe PDFดู/เปิด
25 ภาคผนวก ฏ.pdf87.24 kBAdobe PDFดู/เปิด
26 ประวัติผู้เขียน.pdf59.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น