Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8704
Title: รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวชายแดนไทย –ลาว ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน
Other Titles: TOURISM SUPPLY CHAIN MANAGEMENT MODEL FOR THAILAND AND LAOS BORDER OF KHEMMARAT DISTRICT IN UBON RATCHATINI PROVINCE FOR SUSTAINABLE TOURISM DEVELOPMENT IN SECONDARY CITIES
Authors: สิรภพ วงศ์ลภัส
Keywords: โซ่อุปทานเพื่อการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวชายแดน ไทย –ลาว
การท่องเที่ยวในอำเภอเขมราฐ
การท่องเที่ยวเมืองรอง
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: สิรภพ วงศ์ลภัส. 2562. "รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวชายแดนไทย –ลาว ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวชายแดนไทย – ลาว ในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองรองอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยว และเพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวในเขตอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในเขตอำเภอเขมราฐ จำนวน 400 คน ผลการวิจัย สรุปได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31-35 ปี สถานภาพโสด ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-25000 บาท มีระดับการศึกษาปริญญาตรี การทดสอบสมมติฐาน นักท่องเที่ยวที่มีสภาพส่วนบุคคลแตกต่างกันมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้าน เพศ อายุ สถานภาพ และภูมิลำเนา และนักท่องเที่ยวที่มีสภาพส่วนบุคคลแตกต่างกันมีผลต่อการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวที่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านระดับการศึกษา ควรเพิ่มช่องทางได้รับข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์จากสื่อโซเซียลให้มากขึ้น พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ปรับปรุงบ้านเรือนให้เป็นโฮมสเตย์ จัดรูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม ศาสเนื่องจากอำเภอเขมราฐมีต้นทุนทางวัฒนธรรมสูง การปรับปรุงเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนารูปแบบการขนส่งสาธารณะ เนื่องจากเส้นทางการเดินรถยังไม่ครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยว นอกจากนั้นควรจะมีรูปแบบการท่องเที่ยวให้มากขึ้น มีการเพิ่มโปรแกรมเยี่ยมชมหมู่บ้านสัมผัสวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8704
Appears in Collections:CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.