กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8753
ชื่อเรื่อง: กฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LAW SUPPORTING CONSUMER PROTECTION OF ASEAN
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตวงรัตน์ จุมปาแฝด
คำสำคัญ: การคุ้มครองผู้บริโภค
กลุ่มอาเซียน
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ตวงรัตน์ จุมปาแฝด. 2564. "กฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาเรื่องของกฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน เนื่องจากการค้าขายในกลุ่มอาเซียนนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นผู้ค้าหรือผู้ประกอบการและผู้บริโภค จึงนำไปสู่ปัญหาการบริโภค ซึ่งผู้บริโภคในกลุ่มอาเซียนนี้จะมีสถานะของการเป็นผู้บริโภคเหมือนกัน ซึ่งหากการบริโภคสินค้าหรือการบริการแล้วพบว่ามีความบกพร่องเกิดขึ้นก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค เกิดเป็นประเด็นปัญหาว่าจะใช้กฎหมายหรือมาตรการใดในการคุ้มครองผู้บริโภค ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า (1) ปัญหาเกี่ยวกับคำนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน คำนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียนนั้น เนื่องด้วยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายฉบับใดให้คำนิยามไว้ ส่งผลให้แต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนนำกฎหมายภายในของตนใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งส่งผลเกี่ยวกับความชัดเจนและประสิทธิภาพในคดีคุ้มครองผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในกลุ่มอาเซียน (2) ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน เนื่องด้วยในปัจจุบันการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ อาจมีสินค้าและบริการต่าง ๆ อาจมีบางกรณีที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการซื้อขายและแลกเปลี่ยน อันนำมาสู่กรณีพิพาทและนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ซึ่งปัญหานี้เนื่องด้วยแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะบังคับใช้ภายในประเทศของตน จึงต้องการให้มีการนำกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นใช้บังคับในกรณีพิพาทเกี่ยวกับประชากรหรือผู้บริโภคที่เป็นประชาชนของประเทศตน แต่กฎหมายของแต่ละประเทศย่อมมีการบัญญัติขึ้นมาเพื่อใช้บังคับในประเทศของตน จึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ ภายในประเทศของตน (3) ปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญาของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน เนื่องด้วยข้อกำหนดในการทำสัญญาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นหลักเกณฑ์ที่เน้นการประกอบธุรกิจที่เกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาที่ฝ่ายหนึ่งต้องเป็นผู้บริโภคหรือผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าภายในประเทศของตน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจะเป็นคู่สัญญาที่ไม่ได้เป็นผู้บริโภคในประเทศของตนหรือภายนอกประเทศของตนก็ได้ รูปแบบของสัญญาจึงเป็นไปในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคภายในประเทศของตน จึงส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางเกี่ยวกับกฎหมายรองรับการคุ้มครองผู้บริโภคของกลุ่มอาเซียน ในส่วนของนิยามของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน สิทธิผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน และการทำสัญญาของผู้บริโภคกลุ่มอาเซียน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8753
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น