Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9200
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช ภายใต้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ
Other Titles: LEGAL PROBLEMS ON THE PROTECTION OF THE RIGHTS OF THE PLANT BREEDERS’ UNDER THAILAND AND INTERNATIONAL SYSTEM
Authors: จิดาภา เกื้อกิจ
Keywords: การคุ้มครองสิทธิ
นักปรับปรุงพันธุ์พืช
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: จิดาภา เกื้อกิจ. 2566. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช ภายใต้กฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: จากสภาพปัญหาของการตราพระราชบัญญัติต่างๆ และการบังคับใช้พระราชบัญญัติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของประเทศไทย ผู้วิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของ พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ซึ่งได้กำหนดมาตราการการคุ้มครองพันธุ์พืชและสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช เช่น ขอบเขตนักปรับปรุงพันธุ์พืช ระยะเวลาการคุ้มครองพันธุ์พืช เป็นต้น เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช เพื่อให้มีพันธุ์พืชใหม่เพิ่มเติมจากที่มีอยู่เดิม อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรมและสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ และความคุ้มครองตามกฎหมาย ตลอดจนเพื่อเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ 1978 ที่ผนวกเข้ากับหลักการสำคัญของอนุสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพมาเป็นหลักเกณฑ์ในการออกกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช แต่เมื่อสภาพสังคมและเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบันบทบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ดังกล่าวที่มีอยู่แต่เดิม อาจไม่สอดคล้องกับการแข่งขันด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชที่เพิ่มมากขึ้น/ลดลงอย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่ปัญหาด้านการคุ้มครองพันธุ์พืชที่ล้าหลังกว่าประเทศอื่นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีชีวภาพที่น้อยลง การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชที่ใช้ระยะเวลายาวนาน เนื่องจากไม่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล วิธีการหรือแนวคิดกับประเทศต่างๆ ที่มีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืช และประสบความสำเร็จในระยะเวลาอันสั้น ทั้งระบบกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทยยังขาดความชัดเจนในเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการรอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ว่ามีมาตรการอย่างไรต่อผู้กระทำความผิด ในขณะที่ผู้ทรงสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ตลอดจนได้รับสิทธินั้น เมื่อปรากฏว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 มาตรา 61 กล่าวเพียงว่า หากมีการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิในพันธุ์พืชใหม่ ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำความผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ทรงสิทธิตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควรเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีการระบุมาตรการการคุ้มครองที่ชัดเจนลงไปในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ดังนั้น จากการศึกษาของผู้วิจัย จึงทำให้ผู้วิจัยเห็นว่า ควรนำหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ 1991 มาเป็นหลักการในการแก้ไขกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของไทย จึงเป็นหลักการที่เหมาะสมที่จะสามารถนำมาปรับใช้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และหากมีการนำมาใช้กับประเทศไทย ก็น่าจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาระบบคุ้มครองพันธุ์พืชของประเทศไทยในอนาคต และย่อมส่งผลให้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชและนักปรับปรุงพันธุ์พืช อันเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนและทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีชีวภาพและทำให้การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่นักปรับปรุงพันธุ์พืชในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งยังก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติ และเป็นการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9200
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.