กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1548
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองธุรกิจค้าปลีกรายย่อย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร ตั้งธรรมสถิตย์
คำสำคัญ: กฎหมาย
ธุรกิจค้าปลีก
วันที่เผยแพร่: 28-สิงหาคม-2552
บทคัดย่อ: ธุรกิจค้าปลีกเป็นกลไกสำคัญในระบบตลาดการค้าเสรี ถ้าหากตลาดการค้าปลีกมีการแข่งขันที่หลากหลาย มีการกระจายผู้ประกอบธุรกิจให้มีจำนวนยิ่งมากยิ่งมีการแข่งขัน และจะทำให้เกิดกลไกทางการตลาดที่จะถ่วงดุลกันในเรื่องราคา คุณภาพ ปริมาณ กับความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบและมีทางเลือกได้มากขึ้น ไม่เกิดการผูกขาด หรือมีอำนาจของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือผู้ใดกำหนดราคาเอง หรือกำหนดเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกต่างชาติ หรือธุรกิจที่มีทุนจากต่างชาติได้เข้ามาขยายธุรกิจในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จนมีผลทำให้ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยต้องเลิกกิจการไปมากกว่า 150,000 ราย และยังมีการเลิกกิจการมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ไม่หยุดยั้งเช่นกัน เป็นที่เกรงกันว่าในไม่ช้าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมดจะอยู่ในมือของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่เพียง 4-5 ราย ของทั้งประเทศเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว เศรษฐกิจของประเทศก็จะตกอยู่ในอำนาจของกลุ่มเพียงกลุ่มเดียว กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นทุนต่างชาติ หากเข้ามาครอบงำโดยสิ้นเชิงและมีอำนาจกำหนดราคารับซื้อจากเกษตรกร ผู้ผลิต หรือซัพพลายเออร์ในราคาต่ำ หรือมีเงื่อนไขที่เอาเปรียบต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรก็จะขายผลผลิตได้ในราคาต่ำ ส่วนผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าในราคาแพง สร้างผลกำไรมหาศาลส่งกลับประเทศผู้ลงทุน ทำให้ต้องขาดดุลเงินตราต่างประเทศ ดูดทรัพย์เม็ดเงินจากระบบการเงินของประเทศไทย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทยยิ่งยากจนลงไปอีก คงไม่ใช่เป็นเรื่องที่น่ายินดี ถ้าหากใครๆ จะเห็นว่าประเทศเจริญรุ่งเรืองเต็มไปด้วยศูนย์การค้าและห้างขนาดใหญ่ แต่คนไทยส่วนใหญ่ต้องยากจนลงไปยิ่งกว่านี้อีก ถ้าหากมีมาตรการคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายย่อยแล้ว ทำให้ธุรกิจรายย่อยประกอบธุรกิจอยู่ได้ เงินตราจะหมุนเวียนกระจายลงไปในระบบธุรกิจรายย่อย ซึ่งจะมีหลายระดับ ตั้งแต่ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกรายย่อย ตลอดไปถึงเกษตรกร หรือผู้ผลิต จะมีรายได้เพิ่ม มีเม็ดเงินหมุนเวียน มีสภาพคล่อง รายได้กระจายไปทุกส่วน เป็นผลให้เศรษฐกิจของชุมชน ของเมือง ของเกษตรกร ตลอดจนประเทศไทย ดีขึ้นมีความมั่นคงขึ้น ธุรกิจค้าปลีกรายย่อยแต่เดิมมีมากก็เป็นการดีอยู่แล้ว เพราะเราไม่ต้องพึ่งพาเงินลงทุนจากต่างประเทศ และยังเป็นแนวพระราชดำริ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ที่รัฐจะต้องนำมาใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ปัจจุบันมาตรการคุ้มครองธุรกิจค้าปลีกรายย่อยยังไม่มีเป็นรูปธรรม ประกอบกับประเทศไทยรับข้อตกลงขององค์กรการค้าโลก (WTO) ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างชาติใช้สิทธิต่างๆ ตามกฎหมายเข้ามาขยายกิจการเอาเปรียบทางการค้าและการลงทุน โดยที่ไม่ได้มีมาตรการทางกฎหมายที่จะคุ้มครองผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยของไทย ทำให้ธุรกิจรายย่อยต้องเลิกกิจการไปแล้วเป็นจำนวนมาก ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงสมควรที่ประเทศไทยจะต้องมีมาตรการทางกฎหมาย ที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้ประกอบธุรกิจการค้าปลีกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อไปถึงความมั่นคงด้านอื่นๆ ของประเทศไทยด้วย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf42.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf72.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
3content.pdf56.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
4chap1.pdf97.71 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap2.pdf305.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap3.pdf214.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap4.pdf107.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap5.pdf100.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
9bib.pdf92.61 kBAdobe PDFดู/เปิด
10appen1.pdf175.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
11appen2.pdf116.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
12profile.pdf51.19 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น