Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5361
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทวีวัฒน์ ทวีผลen_US
dc.date.accessioned2017-09-21T05:24:35Z-
dc.date.available2017-09-21T05:24:35Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationทวีวัฒน์ ทวีผล. 2559. "ตัวแบบองค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทย." วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5361-
dc.descriptionทวีวัฒน์ ทวีผล. ตัวแบบองค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการกีฬาและการบันเทิง วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, ปีการศึกษา 2558. มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.description.abstractสนามกอล์ฟในประเทศไทยที่มีอยู่ประมาณ 243 สนาม แบ่งออกเป็นสนามกอล์ฟเอกชนที่ตั้งมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำธุรกิจที่หวังผลกำไร และสนามกอล์ฟราชการที่วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับหน่วยงานภาครัฐและในปัจจุบัน พบว่า มีสนามกอล์ฟที่ประสบปัญหามากกว่าร้อยละ 9 คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาท จึงได้ทำการศึกษาตัวแบบแนวทางความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแบบองค์ประกอบของความสำเร็จของการจัดการ และเสนอแนะตัวแบบแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) โดยผู้วิจัยได้ทำการทบทวนวรรณกรรม แนวคิด ทฤษฏีด้านการจัดการ และการจัดการสนามกอล์ฟ ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ นำไปสู่การออกแบบเครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ ที่แบ่งออกเป็น 2 มุมมอง คือ มุมมองด้านลูกค้าและผู้บริหาร ก่อนที่จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 460 ตัวอย่าง นำไปสู่การวิเคราะห์องค์ประกอบของความสำเร็จและยกร่างแนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จ โดยผู้วิจัยได้ทำการยกร่างองค์ประกอบและแนวทางผ่านกระบวนการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบที่นำไปสู่ความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทย มีด้วยกัน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ที่ตั้งและความสวยงามของสนามกอล์ฟ 2. เลย์เอาท์และความสนุกในการเล่นกอล์ฟ 3. การจัดการเบื้องต้นของสนามกอล์ฟ 4. ความสะดวกและความสะอาดที่อยู่ภายในสนามกอล์ฟ 5. การจัดการด้านทรัพยากรบุคคลภายในสนามกอล์ฟ และ 6. ทักษะของผู้ปฏิบัติงานภายในสนามกอล์ฟ โดยสรุปออกมาเป็นตัวแบบที่เรียกว่า The MAP Model ที่ประกอบไปด้วย M: Management A: Ability P: People& Place สำหรับการจัดการสนามกอล์ฟให้ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยได้นำข้อมูลองค์ประกอบความสำเร็จไปสู่การยกร่างแนวผ่านการเสวนากลุ่ม โดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้กำหนดแนวทางได้ 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางด้านการจัดการสนามกอล์ฟ แนวด้านจัดการทรัพยากรบุคคล และแนวทางด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ โดยนักลงทุนในปัจจุบันหรือผู้ที่สนใจที่จะลงทุนในสนามกอล์ฟ สามารถนำองค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนไปกำหนดในแผนกลยุทธ์ หรือแผนการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญกับองค์ประกอบแห่งความสำเร็จ ทั้ง 6 จากนั้นสามารถประยุกต์แนวทางที่นำเสนอไว้ไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาแผนการดำเนินงาน ที่ครอบคลุมสามด้านสำคัญ ได้แก่ ด้านสนามกอล์ฟ ด้านคนหรือผู้ปฏิบัติงานภายในสนาม และด้านกลยุทธ์ที่จะใช้ทำให้การจัดการสนามกอล์ฟไปสู่ความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherSripatum Universityen_US
dc.relation.ispartofseriesปีการศึกษา 2558en_US
dc.subjectการจัดการen_US
dc.subjectสนามกอล์ฟen_US
dc.subjectนักกอล์ฟen_US
dc.subjectสนามกอล์ฟเอกชนen_US
dc.subjectการท่องเที่ยวเชิงกีฬากอล์ฟen_US
dc.subjectยูเอสจีเอและอาร์แอนด์เอen_US
dc.subjectการประสบความสำเร็จen_US
dc.titleตัวแบบองค์ประกอบความสำเร็จของการจัดการสนามกอล์ฟเอกชนในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeTHE SUCCESSFUL FACTORS MODEL OF PUBLIC GOLF COURSE MANAGEMENT IN THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:GRA-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools