กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5386
ชื่อเรื่อง: การจัดให้มีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGISLATION TO SUPPORT PUBLIC PARTICIPATION IN THE POLICE OFFICERS’ MISSION ON CRIME PREVENTION
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุติวิชญ์ บุญญลิต
คำสำคัญ: ส่วนร่วมของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของชุมชน
พัฒนาการของการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย
เครือข่ายของการมีส่วนร่วมของชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ยุติวิชญ์ บุญญลิต. 2560. "การจัดให้มีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ยุติวิชญ์_2560
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา สภาพปัญหาเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม โดยศึกษากฎหมายในประเทศไทยว่าควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นหรือชุมชนที่เข้ามาช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานตำรวจในการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันอาชญากรรม หรือไม่ อย่างไร เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจของตำรวจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ที่ใช้บังคับในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติที่กำหนดให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม โดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้เพียงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรภาคเอกชนเท่านั้น เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวร่วมกับพนักงานตำรวจ โดยไม่มีบทบัญญัติกำหนดให้ประชาชนในท้องถิ่นหรือชุมชนสามารถเข้าร่วมปฏิบัติภารกิจกับพนักงานตำรวจ ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นหรือชุมชนที่เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจกับพนักงานตำรวจในรูปแบบของอาสาสมัครตำรวจบ้านในปัจจุบัน ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานตำรวจโดยไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับ อีกทั้งอาสาสมัครตำรวจบ้านที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมีสถานะเป็นเพียงราษฎรคนหนึ่ง ในกรณีที่อาสาสมัครตำรวจบ้านพบผู้ต้องสงสัยว่าอาจจะก่ออาชญากรรมหรือพบการกระทำความผิดที่ราษฎรไม่มีอำนาจจับกุม อาสาสมัครตำรวจบ้านก็ไม่สามารถดำเนินการตรวจค้นหรือจับกุมผู้กระทำผิดได้ ทำให้การปฏิบัติงานของอาสาสมัครตำรวจบ้านทำได้ไม่เต็มที่
รายละเอียด: ยุติวิชญ์ บุญญลิต. การจัดให้มีกฎหมายรองรับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการปฏิบัติภารกิจของพนักงานตำรวจด้านการป้องกันอาชญากรรม. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5386
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น