กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5402
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL MEASURE DEVELOPMENT RELATING TO USING BICYCLE IN THAILAND : COMPARISON STUDY WITH FOREIGN LAWS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กวินศรินยา รองเรืองแย้ม
คำสำคัญ: จักรยาน
ผู้ใช้จักรยาน
กฎหมายจักรยาน
การส่งเสริมการใช้จักรยาน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: กวินศรินยา รองเรืองแย้ม. 2560. "แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_กวินศรินยา _2560
บทคัดย่อ: ปัจจุบันจำนวนการใช้จักรยานและจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดกับการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กฎหมายเกี่ยวกับจักรยานที่ใช้อยู่ในประเทศไทยนั้นไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากเป็นกฎหมายเก่าที่ยังมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาการใช้จักรยานและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยานในประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับจักรยานในประเทศไทยให้ทันสมัยและเหมาะสมต่อไป ในการทำสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนพบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการใช้จักรยานในประเทศไทยหลายประการ เช่น สภาพพื้นผิวการจราจร ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานและผังเมืองในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการปั่นจักรยานประกอบกับการจัดทำเส้นทางจักรยานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ อีกหลายประการได้แก่ บทบัญญัติไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ และการชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่เป็นธรรม ในขณะที่ต่างประเทศมีกฎหมายและมาตรการในการบริหารจัดการที่ทันสมัยกว่า เช่น ประเทศอิตาลีและประเทศฮังการีมีกฎหมายและมาตรการสนับสนุนในการจัดทำโครงการเมืองจักรยานรวมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสำหรับจักรยานเช่นเดียวกันกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่มีการจัดตั้ง CYCLOCITY เพื่อให้ประชาชนยืมใช้จักรยานได้อย่างสะดวก ส่วนในประเทศอังกฤษก็มีการส่งเสริมการใช้จักรยานโดยใช้มาตรการจูงใจทางภาษีมาสนับสนุน รวมถึงมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการใช้จักรยานดังเช่นในกรณีของประเทศญี่ปุ่น และที่ก้าวหน้าไปกว่านั้นก็คือมีการจัดตั้งสมาพันธ์ผู้ปั่นจักรยานในสหภาพยุโรปขึ้นมาอย่างเป็นทางการนอกจากนี้ยังพบว่าประเทศต่างๆที่ได้ทำการศึกษาวิจัยมีการกำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้จักรยานไว้ค่อนข้างชัดเจน ทั้งในเรื่องของข้อกำหนด การลงโทษและการเยียวยาความเสียหาย
รายละเอียด: กวินศรินยา รองเรืองแย้ม. แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตมหาบัณฑิตกลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5402
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ปก-กวินศรินยา -นิติ-2560.pdf129.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
ปกใน-กวินศรินยา -นิติ-2560.pdf22.17 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทคัดย่อ-กิตติกรรมประกาศ-กวินศรินยา -นิติ-2560.pdf316.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 1 .pdf310.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 2.pdf862.59 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3.pdf1.86 MBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 4.pdf548.79 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 5-บรรณานุกรม.pdf462.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
ประวัติผู้เขียน.pdf147.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก ก. พรบ.จราจร 2522 p.191-214.pdf913.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก ข. Transport Operations (Road Management) Act 1995 p.215-230.pdf3.93 MBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก ค. THE HIGHWAY CODE p.231-298.pdf19.6 MBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก ง. Covention On Road Traffic p299-363.pdf219.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก จ. ตารางเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสีย p364-371.pdf351.09 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น