กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5549
ชื่อเรื่อง: การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: INFLUENCE OF PERCEIVED ORGANIZATIONAL SUPPORT TO ORGANIZATIONAL CITIZENSHIP BEHAVIOR OF EMPLOYEES IN SINKAO CONSTRUCTION CO., LTD.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สกฤษฏ์ ช่องประเสริฐ
คำสำคัญ: การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร
พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สกฤษฏ์ ช่องประเสริฐ. 2559. "การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_สกฤษฏ์ ช่องประเสริฐ_181095
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ของพนักงานบริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด ตามปัจจัยส่วนบุคคล (2) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงาน บริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแล้วนำข้อมูลมาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่า เท่ากับ 0.967 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงาน บริษัท สินก้าวคอนสตรั้คชั่น จำกัด จำนวน 120 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบ t-test, F-test (ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ (2) การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ประกอบด้วย ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านความรู้ในงานและโอกาสก้าวหน้า ด้านความมั่นคงในการทำงาน ด้านจิตอารมณ์ และด้านการปฏิบัติงาน พบว่า มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร อยู่ในระดับสูง มีค่า เท่ากับ 0.681 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ. 2559.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5549
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ