กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6337
ชื่อเรื่อง: การปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE MINDSET CULTIVATION OF “KNOWLEDGE WITH VIRTUE” FOR BACHELOR’S DEGREE STUDENTS BY USING THE PHILOSOPHY OF SUFFICIENCY ECONOMY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุบิน ยุระรัช
คำสำคัญ: ความรู้คู่คุณธรรม
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์เส้นทาง
กรอบความคิด
วันที่เผยแพร่: ตุลาคม-2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: สุบิน ยุระรัช. (2559). การปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_สุบิน ยุระรัช_T182513
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้ออกแบบโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับของการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี (2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เส้นทาง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 390 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถาม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) แบบบันทึกภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาปริญญาตรีมีการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมาก (2) ความมุ่งมั่นมีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.95 การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธพลเท่ากับ 0.28 และมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.30 การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยส่งผ่านตัวแปรความมุ่งมั่นในการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.29 ส่วนความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีอิทธิพลต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิต และ (3) แนวทางการปลูกฝังกรอบความคิด เรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” มีลักษณะเป็นกระบวนการแบบขั้นบันได 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การอบรมบ่มเพาะ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างการรับรู้ ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 การถอดบทเรียน และขั้นตอนที่ 5 การเกิดองค์ความรู้และองค์ความคิด (ความรู้คู่คุณธรรม)
รายละเอียด: งานวิจัยนี้ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2559
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6337
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_RES-06. ผลงานวิจัย

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1.หน้าปก.pdf68.62 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.ส่วนหน้า.pdf157.54 kBAdobe PDFดู/เปิด
3.บทที่ 1.pdf179.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
4.บทที่ 2.pdf654.61 kBAdobe PDFดู/เปิด
5.บทที่ 3.pdf278.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
6.บทที่ 4.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด
7.บทที่ 5.pdf217.93 kBAdobe PDFดู/เปิด
8.บรรณานุกรม.pdf169.38 kBAdobe PDFดู/เปิด
9.ภาคผนวก.pdf33.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
10.ภาคผนวก ก.pdf32.08 kBAdobe PDFดู/เปิด
11.แบบสอบถาม.pdf141.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
12.แบบสัมภาษณ์.pdf68.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
13.แบบบันทึกภาคสนาม.pdf66.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
14.ภาคผนวก ข.pdf34.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
15.รายชื่อผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจคุณภาพเครื่องมือวิจัย.pdf63.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
16.ภาคผนวก ค.pdf34.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
17.ผลการวิเคราะห์ค่าสถิติเชิงบรรยายของตัวแปรในการวิจัย.pdf125.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
18.output_prelis.pdf29.07 kBAdobe PDFดู/เปิด
19.output_path.pdf78.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
20.ภาคผนวก ง.pdf36.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
21.ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ.pdf50.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
22.ภาคผนวก จ.pdf36.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
23.ตัวอย่าง มคอ.3 วิชาศาสตร์พระราชา.pdf226.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
24.ประวัติย่อผู้วิจัย.pdf52.83 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น