Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7851
Title: แนวทางในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
Other Titles: GUIDELINES ON CAPACITY BUILDING AND DEVELOPMENT OF THE POLICE OFFICERS AT THE POLICE STATION LEVEL FOR EFFICIENCY ENHANCEMEN IN THE PREVENTIONAND SUPPRESSION OF INFORMATION TECHNOLOGY-RELATED CRIMES
Authors: สรัลพัฒน์ ยศสมบัติ
Keywords: การเพิ่มประสิทธิภาพ/อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
เจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: สรัลพัฒน์ ยศสมบัติ. 2563. "แนวทางในการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติรัฐกิจและการบริหาร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ” ครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาถึงรูปแบบ เทคนิค วิธีการและช่องทางของอาชญากรรมที่กระทำผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ศึกษาถึงกระบวนการจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานี 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งกลุ่มที่ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสารวัตรขึ้นไปของสถานีตำรวจ ในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี 3 สายงาน คือ งานป้องกันและปราบปราม งานสืบสวน และงานสอบสวน จำนวน 9 สถานี และ เจ้าหน้าที่สืบสวน จากกองกำกับการสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี รวมทั้ง นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง รวม 38 คน นำมาวิเคราะห์ประมวลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้ศึกษาจากหนังสือ เอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาอภิปรายผลการวิจัยนี้ ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบ เทคนิค วิธีการ และช่องทางของอาชญากรรมที่กระทำผ่านทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ การฉ้อโกง การหลอกลวง เช่น การสร้างเพจเพื่อทำการค้า การหลอกลวงขายสินค้าทางออนไลน์ การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อร่วมลงทุน การหลอกลวงให้โอนเงิน โรแมนซ์สแกม ฯลฯ การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง โดยใช้วิธีการแชร์เนื้อหาผ่านทางสังคมออนไลน์ เช่น เฟชบุ๊ก ไลน์ ฯลฯ ซึ่งช่องทางในการกระทำผิดส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องมือสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการกระทำความผิด 2) กระบวนการจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานี พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องข้อกฎหมาย การวิเคราะห์อาชญากรรมในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งขาดอุปกรณ์ที่ทันสมัย จึงไม่สามารถวิเคราะห์คดี ทำให้การดำเนินคดีล่าช้า หรือไม่ประสบความสำเร็จ ขาดการเก็บสถิติเพื่อดำเนินการเชิงรุกทางด้านการประชาสัมพันธ์ และไม่สามารถสร้างการรับรู้แนวทางในการป้องกันตนเองให้กับประชาชนได้ 3) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับสถานีส่วนใหญ่ต้องการความรู้ทั้งด้านกฎหมายและด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมพยานหลักฐาน รวมทั้งมีหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อเสนอแนะ 1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรจัดให้มีการอบรม/สัมมนาเกี่ยวกับความรู้ทั้งทางด้านกฎหมายและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้กับตำรวจระดับสถานี 2) ควรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประจำที่สถานีเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ควรสนับสนุนด้านเครื่องมือในการปฏิบัติงานที่ทันสมัย 4) จัดทำคู่มือเพื่อช่วยในการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7851
Appears in Collections:LAW-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.