กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8673
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ ในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE DEVELOPMENT DECISION SUPPORT SYSTEM FOR LOGISTICES BUSINESS IN PROCESSED RUBBER INDUSTRY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มานิตย์ สิงห์ทองชัย
คำสำคัญ: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ธุรกิจโลจิสติกส์
อุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: มานิตย์ สิงห์ทองชัย. 2562. "การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ ในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนตัดสินใจในรูปแบบของเว็บ แอปพลิเคชันสำหรับธุรกิจโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป และ (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการนำนวัตกรรมระบบสนับสนุนตัดสินใจในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชันไปสู่การประยุกต์ใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมยางพาราแปรรูป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มข้อมูลที่นำมาใช้กับระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ บริษัทขนส่ง และ/หรือคลังสินค้า 2) กลุ่มข้อมูลใช้หาความต้องการให้บริการโลจิสติกส์ คือ แหล่งผลิตสินค้า และโรงงานอุตสาหกรรม 3) กลุ่มผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้ใช้บริการโลจิสติกส์ คือ ผู้ประกอบการการผลิตในจังหวัดพิษณุโลกและพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 400 คน และผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินระบบ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยใช้วิธีการวิเคราะห์การตัดสินใจแบบลำดับชั้นและขั้นตอนวิธีเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจทดสอบในโปรแกรม Weka 3.9.4 และแบบประเมินประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจในรูปแบบของเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งมีการวัดประสิทธิภาพของโมเดลด้วยเทคนิคต้นไม้ตัดสินใจ j48 ที่ให้ค่าความถูกต้อง เท่ากับ 50.5 % และพยากรณ์ไม่ถูกต้อง เท่ากับ 49.5% โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าจริงและค่าที่พยากรณ์ได้ มีค่าเท่ากับ 0.2729 เป็นผลให้ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานที่ตอบสนองตรงกับลักษณะหรือข้อมูลที่เหมาะสม มีความถูกต้องตรงต่อความต้องการของผู้ใช้งานระบบ (2) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.75 อยู่ในระดับมาก และ (3) ผลการประเมินความต้องการของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม เท่ากับ 3.76 อยู่ในระดับมาก และผู้ใช้บริการผู้ใช้บริการโลจิสติกส์และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มีค่าเฉลี่ย 4.11 อยู่ในระดับมาก
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8673
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1.ปกในภาษาไทย.pdf66.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
2.ปกในภาษาอังกฤษ.pdf21.65 kBAdobe PDFดู/เปิด
3.บทคัดย่อภาษาไทย.pdf107.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
4.บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.pdf69.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
5.กิตติกรรมประกาศ.pdf163.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
6.สารบัญ.pdf334.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
7.สารบัญตาราง.pdf204.03 kBAdobe PDFดู/เปิด
8.สารบัญภาพประกอบ.pdf209.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
9.บทที่ 1 บทนำ.pdf269.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
10.บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎี.pdf3.56 MBAdobe PDFดู/เปิด
11.บทที่ 3 วิธีการศึกษา.pdf1.05 MBAdobe PDFดู/เปิด
12.บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูล.pdf1.16 MBAdobe PDFดู/เปิด
13.บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา.pdf159.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
14.บรรณานุกรม.pdf174.49 kBAdobe PDFดู/เปิด
15.ภาคผนวก.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด
16.ประวัติผู้วิจัย.pdf86.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น