Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8718
Title: การลดต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์โดยการจัดการรถเที่ยวเปล่า
Other Titles: BACKHAULING MANAGEMENT FOR REDUCING LOGISTICS COSTS
Authors: บุษยมาศ ผุยมูลตรี
Keywords: การลดต้นทุน
การขนส่งรถเที่ยวเปล่า
กิจกรรมโลจิสติกส์
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: บุษยมาศ ผุยมูลตรี. 2564. "การลดต้นทุนกิจกรรมโลจิสติกส์โดยการจัดการรถเที่ยวเปล่า." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและต้นทุนการขนส่งของบริษัทกรณีศึกษา 2) ปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งโดยใช้แนวคิดการจัดการเที่ยวเปล่า 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขนส่งโดยใช้การจัดการรถเที่ยวเปล่า และ 4) เพื่อเพิ่มมูลค่าจากกระบวนการขนส่งให้แก่บริษัท การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยปรับปรุงรูปแบบการจัดการขนส่งและเปรียบเทียบต้นทุนการขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุง ในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มประชากรประกอบด้วย ผู้รับบริการของบริษัท จำนวน 55 คน และพนักงานขับรถของบริษัท จำนวน 35 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ต้นทุนการจัดการขนส่งก่อนการปรับปรุงของบริษัทกรณีศึกษา มีต้นทุนอยู่ที่ 880,733 บาทต่อเดือน หรือ 10,568,800 บาทต่อปี ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในส่วนของการตีรถเที่ยวเปล่ากลับมาปิดงานที่บริษัทเพื่อรอรับงานต่อไป 2) หลังจากนำแนวคิดการจัดการขนส่งเที่ยวเปล่ามาประยุกต์ใช้ พบว่าบริษัทกรณีศึกษาสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากการตีรถเที่ยวเปล่าลงร้อยละ 27.66 หรือคิดเป็นมูลค่า 2,923,800 บาทต่อปี สามารถขนส่งวัตถุดิบเที่ยวกลับได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 78.15 3) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งสินค้าโดยใช้กระบวนการขนส่งเที่ยวกลับ พบว่า ผู้รับบริการขนส่งมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 ประกอบด้วย มีการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการให้บริการ และการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ ตามลำดับ 4) การเพิ่มมูลค่าให้แก่บริษัทโดยการสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงานขับรถ ใช้การวัดคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขับรถ พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.10 อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย บริษัทมีการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม และสร้างความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ตามลำดับ
Description: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8718
Appears in Collections:CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.