Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9347
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
Other Titles: LEGAL PROBLEMS REGARDING THE RIGHT OF OFFICIALS TO MAKE A CLAIM FOR REIMBURSEMENTS FROM GOVERNMENT ORGANIZATIONS
Authors: มังกร ศรสงคราม
Keywords: สิทธิเรียกของผู้เสียหาย
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Issue Date: 2566
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: มังกร ศรสงคราม. 2566. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งศึกษาความเป็นมา เจตนารมณ์ และความสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยทำการศึกษากฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่า บทบัญญัติมาตรา 9 กรณีการกำหนดให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิเรียกให้หน่วยงานของรัฐชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนในกรณีที่ เจ้าหน้าที่ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย มีผลกระทบทางกฎหมายจากปัญหาดังนี้ คือ 1) ความไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 9 2) หลักเกณฑ์การใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายกรณีเจ้าที่กระทำความผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตามมาตรา 9 อาจขัดหรือแย้งต่อหลักความรับผิดและการฟ้องคดีตามนัย มาตรา 5 ซึ่งกําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ขอได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ และ 3) กลไกในการตรวจสอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น จากบทบัญญัติมาตรา 9 จึงเป็นปัญหาสําคัญส่งผลกระทบต่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อประโยชน์ส่วนรวม อย่างไรก็ตาม ในประเทศต่างๆ หากต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ ที่ใช้อำนาจมหาชน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับเอกชนที่ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะแม้ว่า เอกชนที่ได้รับความเสียหายอาจฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายให้รับผิดชอบได้ ในส่วนตัวต่อศาลยุติธรรมไม่ใช่หลักประกันว่าเอกชนจะได้รับความเสียหายเต็มจำนวน เพราะเจ้าหน้าที่ผู้นั้นอาจมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติดังกล่าวตามข้อเสนอข้างต้นแล้ว ความเข้าใจ ผิดและการตีความที่ผิดแปลกไปจากเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ได้ และทำให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 สอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันว่าเจ้าหน้าที่ไม่จำต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำละเมิด ที่ตนได้กระทำลงในการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้การใช้บังคับกฎหมาย (Law Enforcement) เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความชัดเจน (Clarity) เป็นไปตามเจตนารมณ์และความมุ่งหมายแห่งพระราชบัญญัติ ทั้งยังสามารถตรวจสอบเพื่อคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม เค้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมาย สร้างขวัญและกำลังใจในการทํางาน ให้แก่เจ้าหน้าที่ ทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ แก่ประชาชนอีกด้วย
Description: ตารางประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9347
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.