Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9467
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
Other Titles: LEGAL ISSUES REGARDING THE ISSUANCE OF DUPLICATE DISCIPLINARY ORDERS UNDER THE LAW OF GOVERNMENT TEACHERS AND EDUCATIONAL PERSONNEL
Authors: อารยา ห่อทรัพย์
Keywords: ปัญหาทางกฎหมาย
คำสั่งลงโทษทางวินัย
ข้าราชการครู
บุคลากรทางการศึกษา
Issue Date: 2567
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: อารยา ห่อทรัพย์. 2566. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน ตามกฎหมายระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฏหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Abstract: สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงสภาพปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยซ้ำซ้อน (Issuing Repeated Disciplinary Punishment Order) โดยพิเคราะห์กรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 (Government Teacher and Educational Personnel Act B.E. 2547 (2004)) โดยศึกษาและวิจัยถึงความเป็นมา ความหมาย กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า ในกรณีการออกคำสั่งลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกันอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี เช่น การออกคำสั่งลงโทษทางวินัยตามมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ซึ่งวินิจฉัยชี้มูลความผิดทางวินัยในความผิดเดียวกันกับที่ผู้บังคับบัญชาเคยสั่งลงโทษ ไปแล้ว และมีการออกคำสั่งลงโทษใหม่เพื่อเพิ่มโทษจากคำสั่งลงโทษเดิม โดยเรื่องนี้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่สองฉบับ คือ (1) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และ (2) ระเบียบ ก.ค.ศ. ว่าด้วยวิธีการออกคำสั่งเกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2548 ซึ่งพบว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้ไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการยกเลิกหรือเพิกถอน (Cancellation or Revocation) คำสั่งลงโทษทางวินัย และแนวทางการพิจารณาการมีผลใช้บังคับของคำสั่งลงโทษฉบับเดิมยังขาดความชัดเจน จึงก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย (Gap in Law) ที่ทำให้ผู้บังคับบัญชา (Commander) อาจสั่งลงโทษทางวินัยในมูลความผิดเดียวกันได้ถึงสองครั้ง ซึ่งขัดต่อหลัก ne bis in idem หรือหลักการห้ามลงโทษซ้ำสองครั้ง (Principle Forbidding Double Jeopardy) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ถูกลงโทษ และอาจขัดต่อหลักความจำเป็นและหลักความได้สัดส่วนตามนัยมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รวมถึงหลักนิติธรรม (Rule of Law) ในแง่มุมของสิทธิขั้นพื้นฐานที่มีนัยที่ให้ความเคารพต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9467
Appears in Collections:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1 หน้าปก.pdf45.65 kBAdobe PDFView/Open
2 บทคัดย่อ.pdf104.89 kBAdobe PDFView/Open
3 กิตติกรรมประกาศ.pdf51.71 kBAdobe PDFView/Open
4 สารบัญ.pdf83.04 kBAdobe PDFView/Open
5 บทที่ 1.pdf230.99 kBAdobe PDFView/Open
6 บทที่ 2.pdf518.49 kBAdobe PDFView/Open
7 บทที่ 3.pdf338.6 kBAdobe PDFView/Open
8 บทที่ 4.pdf323.63 kBAdobe PDFView/Open
9 บทที่ 5.pdf193.03 kBAdobe PDFView/Open
10 บรรณานุกรม.pdf176.13 kBAdobe PDFView/Open
11 ภาคผนวก.pdf38.17 kBAdobe PDFView/Open
12.1 ภาคผนวก ก.pdf53.32 kBAdobe PDFView/Open
12.2 ภาคผนวก ก ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาในเร.pdf48.94 kBAdobe PDFView/Open
13.1 ภาคผนวก ข.pdf55.48 kBAdobe PDFView/Open
13.2 ภาคผนวก ข ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่.pdf386.69 kBAdobe PDFView/Open
14.1 ภาคผนวก ค.pdf50.47 kBAdobe PDFView/Open
14.2 ภาคผนวก ค คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อบ. 277.256.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
15.1 ภาคผนวก ง.pdf50.02 kBAdobe PDFView/Open
15.2 ภาคผนวก ง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อบ. 171.256.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
16 ประวัติผู้เขียน.pdf59.78 kBAdobe PDFView/Open
เล่มสารนิพนธ์ คุณอารยา ห่อทรัพย์.pdf5.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.