กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6590
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่มีอันตราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LIABILITY FOR ADVERTISING DANGEROUS GOODS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณฐภัทร์ จุ่งพิวัฒน์
คำสำคัญ: ความรับผิด
สินค้าอันตราย
การโฆษณา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ณฐภัทร์ จุ่งพิวัฒน์. 2562. "ความรับผิดเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่มีอันตราย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ณฐภัทร์ จุ่งพิวัฒน์_T185459
บทคัดย่อ: ในปัจจุบันการโฆษณาเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญมาก การโฆษณาสินค้าที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานในการผลิต และอาจมีสารปนเปื้อนที่ไม่ปลอดภัย ส่งผลต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพอนามัย จิตใจ และทรัพย์สินของผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้นจากการศึกษาพบว่า มีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าที่มีอันตราย เช่น การขาดประสิทธิภาพในการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งขาดหน่วยงานกลางและมาตรการที่ชัดเจนในการควบคุมดูแลและตรวจสอบสินค้าหรือโฆษณาก่อนนำออกสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หรือสื่อต่าง ๆ การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยนั้นยังไม่มีมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคยังไม่มีบทบัญญัติเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการเยียวยาในความเสียหาย นอกจากนี้ยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ซึ่งรัฐไม่สามารถควบคุมดูแลและตรวจสอบการโฆษณาที่มีหลากหลายรูปแบบในปัจจุบันได้อย่างทั่วถึง และนอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ละเลยฝ่าฝืนไม่ดำเนินการตรวจสอบควบคุมผู้กระทำการโฆษณา ตลอดจนความไม่มีประสิทธิภาพของการฟ้องคดีแบบกลุ่มอีกด้วย ดังนั้น สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอให้มีมาตรการเชิงป้องกันและเยียวยา โดยการควบคุมการโฆษณาโดยรัฐ องค์กรวิชาชีพ สื่อ และองค์กรประชาชน เน้นการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพและเพิ่มมาตรการลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างจริงจัง ซึ่งนอกจากจะใช้มาตรการลงโทษปรับหรือจำคุกตามพระราชบัญญัติแล้ว อาจกำหนดมาตรการการลงโทษอื่น เช่น พักใบอนุญาตผลิตสินค้าที่มีอันตรายของผู้ประกอบการ หรือการเพิกถอนทะเบียนตำรับและเลขสารบบของผู้ประกอบการ และสำหรับสื่อใดที่ปล่อยประละเลยให้มีการโฆษณาสินค้าที่มีอันตรายก็อาจมีการกำหนดบทลงโทษให้มีผลกระทบต่อการขอใบอนุญาตประกอบกิจการกับพร้อมทั้งกำหนดโทษทางอาญา และจัดทำฐานข้อมูลการอนุญาตโฆษณาสินค้า เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณาสามารถเข้าถึงและตรวจสอบการอนุญาตโฆษณาได้ นอกจากนี้ ควรให้อำนาจหน่วยงานรัฐ สมาคมหรือบุคคลตามกฎหมายที่มีอำนาจดำเนินคดีแทนผู้บริโภคที่เป็นผู้เสียหาย มีอำนาจในการร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม เนื่องจากดำเนินคดีแบบกลุ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนอันเนื่องมาจากข้อพิพาทที่มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สาธารณะด้วย
รายละเอียด: นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6590
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น