กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6617
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: STRATEGIES FOR ENCHANCING THE CAPACITY OF EXPORT BUSINESS BY AIR TRANSPORTATION
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชิตพงษ์ อัยสานนท์
คำสำคัญ: การขนส่งทางอากาศ
สมรรถนะของโซ่อุปทาน
ผลการดำเนินงาน
ธุรกิจส่งออก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชิตพงษ์ อัยสานนท์. 2561. "กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ชิตพงษ์ อัยสานนท์_T185192_2561
บทคัดย่อ: การขนส่งทางอากาศนับเป็นอุตสาหกรรมการบริการสาขาหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมของโลก เพราะเป็นการบริการขนส่งที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น อุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคบริการขนส่งทางอากาศ กิจการขนส่งทางอากาศ ประกอบด้วย บริการขนส่งผู้โดยสาร บริการขนส่งสินค้า ส่วนหน่วยธุรกิจเป็นกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการขนส่ง ประกอบด้วย การบริการคลังสินค้า การบริการลูกค้าภาคพื้น การบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น และครัวการบิน ในสภาวะการแข่งขันของธุรกิจขนส่งทางอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเสรีทางอุตสาหกรรมการบิน ทำให้บริษัทฯต้องปรับตัวและสร้างคุณภาพการบริการ การดำเนินงานการขนส่งสินค้าทางอากาศ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อันเป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จึงควรมีการปรับปรุงและพัฒนาสมรรถนะของโซ่อุปทานด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับองค์กร วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของโซ่อุปทานในธุรกิจส่งออกทางอากาศ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า ดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก, สมรรถนะของโซ่อุปทานระดับโลกมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในธุรกิจส่งออก และดัชนีสมรรถนะด้านโลจิสติกส์มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะของ โซ่อุปทาน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล งานวิจัยนี้ได้กำหนดชื่อตัวแบบจำลองให้มีความเหมาะสมสำหรับการพัฒนากลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ ทั้งนี้ แบบจำลองสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างประสิทธิภาพและการดำเนินงานของผู้ประกอบการต่อไป
รายละเอียด: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2561.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6617
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1 ปกหน้าดุษฎีนิพนธ์.pdf66.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
2 ปกใน ไทย.pdf54.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
3 ปกใน eng.pdf36.73 kBAdobe PDFดู/เปิด
4 บทคัดย่อไทบ-อังกฤษ กิตติกรรมประกาศ.pdf132.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
5 สารบัญ.pdf189.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
6 บทที่ 1.pdf292.18 kBAdobe PDFดู/เปิด
7 บทที่ 2.pdf839.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
8 บทที่ 3.pdf609.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
9 บทที่ 4.pdf626.33 kBAdobe PDFดู/เปิด
10 บทที่ 5.pdf185.57 kBAdobe PDFดู/เปิด
11 บรรณานุกรม.pdf323.98 kBAdobe PDFดู/เปิด
12ภาคผนวก.pdf32.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
13 ภาคผนวก ก.pdf258.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
14 ภาคผนวก ข.pdf219.97 kBAdobe PDFดู/เปิด
15ภาคผนวก ค.pdf255.2 kBAdobe PDFดู/เปิด
16 ภาคผนวก ง.pdf223.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
17. ภาคผนวก จ. หัวเรื่อง ค่า IOC - จ. หัวเรื่อง ผลการประเมิน.pdf440.53 kBAdobe PDFดู/เปิด
18 ภาคผนวก ฉ.pdf202.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
19 ภาคผนวก ช.pdf209.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
20. ภาคผนวก ช..pdf554.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
21 ประวัติผู้วิจัย.pdf102.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
20200313_110646.jpg3.76 MBJPEGดู/เปิด
20200313_110618.jpg3.76 MBJPEGดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น