กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8692
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่มีต่อโซ่คุณค่าทางสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: DEVELOPING A CAUSAL MODEL OF LEADERSHIP TOWARDS THE SOCIAL VALUE CHAIN THAT AFFECTS THE SUSTAINABILITY OF THE PRIMARY INDUSTRIES AND MINES OF THAILAND
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลภัสรดา เนียมนุช
คำสำคัญ: ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
อุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ลภัสรดา เนียมนุช. 2564. "การพัฒนาตัวแบบเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำที่มีต่อโซ่คุณค่าทางสังคมที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลโดยรวมของตัวแปรด้านภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้านประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม ด้านคุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ และพัฒนาตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาจำนวน 209 ราย เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ของประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 5 ราย นำข้อมูลมาสังเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณเพื่อตอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ตัวแบบสมการโครงสร้างในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าความกลมกลืนผ่านเกณฑ์ แสดงว่าโมเดลมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดี ดังนี้ Chi-Square=50.759, x2/df =1.637, p=0.014, CFI=0.992, IFI=0.992, RMR=0.009 และ RMSEA=0.055 และการทดสอบสมมติฐานการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานขององค์กรที่ยั่งยืน โดยมประสิทธิภาพห่วงโซ่คุณค่าเพื่อสังคม คุณค่าทางเศรษฐกิจที่จับต้องไม่ได้ ส่งผลทางอ้อม และสัมภาษณ์ผู้บริหารพบว่า ภาวะผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมจะมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงขององค์กรด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมไปในทิศทางที่สามารถแข่งขันได้ มุ่งหวังให้เกิดคุณค่าร่วมขององค์กรและสังคมเพื่อการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8692
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1. ปกในภาษาไทย.pdf45.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
2. ปกในภาษาอังกฤษ.pdf28.92 kBAdobe PDFดู/เปิด
3. บทคัดย่อภาษาไทย.pdf75.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
4. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.pdf51.72 kBAdobe PDFดู/เปิด
5. กิตติกรรมประกาศ.pdf55.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
6. สารบัญ.pdf155.55 kBAdobe PDFดู/เปิด
7. บทที่ 1 บทนำ.pdf155.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
8. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.pdf663.31 kBAdobe PDFดู/เปิด
9. บทที่ 3 ระเบียบวิธีวิจัย.pdf302.56 kBAdobe PDFดู/เปิด
10. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล.pdf1.57 MBAdobe PDFดู/เปิด
11. บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา การอภิปรายผล และข้อมเสนอแนะ.pdf176.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
12. บรรณานุกรม.pdf220.68 kBAdobe PDFดู/เปิด
13. ภาคผนวก.pdf401 kBAdobe PDFดู/เปิด
14. ประวัติผู้วิจัย.pdf79.35 kBAdobe PDFดู/เปิด
รวมเล่ม คุณลภัสรดา.pdf3.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น