กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8675
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรยั่งยืน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: SUPPLY CHAIN MANAGEMENT MODEL FOR COMMUNITY ENTERPRISE OF SUSTAINABLE AGRICULTURAL PRODUCT GROUPS
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปณิตา แจ้ดนาลาว
คำสำคัญ: การจัดการโซ่อุปทาน
วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มสินค้าเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปณิตา แจ้ดนาลาว. 2562. "รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรยั่งยืน." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิศติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของประสิทธิภาพการดำเนินงานมีผลต่อการดำเนินงานของการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าการเกษตรอย่างยั่งยืน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืนและ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสำหรับกลุ่มสินค้าเกษตรในการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนและการบริหารจัดการโซ่อุปทาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ประชากร คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย จำนวน 1,447,678 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ในการวิจัยครั้งนี้คือผู้ประกอบการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 6,167 ราย ด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 ราย โดยใช้แบบสอบถาม และงานวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตร ระดับดี ระดับปานกลาง และระดับปรับปรุง จำนวน 12 คน ลูกค้าของกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน และสนทนากลุ่มย่อยโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่กำกับดูแลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำนวน 10 คน และกลุ่มประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจำนวน 10 คน เครื่องมือในการวิจัยสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิคทางสถิติของโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการโซ่อุปทานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ค่าดัชนีสถิติทดสอบ /df = 2.948, P-value = 0.000 GFI = 0.931, CFI = 0.969, NFI = 0.955, IFI = 0.970, RMR = 0.019 และ RMSEA = 0.071 โดยการจัดการโซ่อุปทาน (SCOR Model) มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความ สำเร็จของวิสาหกิจชุมชน (BSC) ด้วยค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.98 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสินค้าเกษตรจะประสบความสำเร็จและความยั่งยืนได้นั้น ในการจัดตั้งกลุ่มต้องมีความร่วมมือกันภายในผู้นำและสมาชิก ร่วมกันนำทุนทางวัฒนธรรมของในชุมชนและท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าของกลุ่ม
รายละเอียด: ตารางและรูปภาพประกอบ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8675
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CLS-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1 ปก ไทย-อังกฤษ.pdf69.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
2 บทคัดย่อไทย-อังกกฤษ.pdf228.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
3 กิตติกรรมประกาศ(new).pdf85.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
4.สารบัญ.pdf244.52 kBAdobe PDFดู/เปิด
5 บทที่ 1(31-5-63).pdf459.86 kBAdobe PDFดู/เปิด
6 บทที่ 2(31-5-63).pdf1.78 MBAdobe PDFดู/เปิด
7 บทที่ 3[31-5-63].pdf744.39 kBAdobe PDFดู/เปิด
8 บทที่ 4(27-5-63).pdf1.99 MBAdobe PDFดู/เปิด
9 บทที่ 5(27-5-63).pdf388.15 kBAdobe PDFดู/เปิด
10 บรรณานุกรม(5-5-63).pdf382.46 kBAdobe PDFดู/เปิด
11 ก ภาคผนวก.pdf66.48 kBAdobe PDFดู/เปิด
11.1 ก ภาคผนวก.pdf80.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
12 ข ภาคผนาก.pdf332.14 kBAdobe PDFดู/เปิด
13 ค ภาคผนาก.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด
14 ง แบบสัมภาษณ์ ภาคผนวก.pdf205.87 kBAdobe PDFดู/เปิด
15 จ แบบสอบถามปริมาณ ภาคผนวก.pdf255.69 kBAdobe PDFดู/เปิด
16 ฉ แบบสนทนา Focus ภาคผนวก.pdf233.89 kBAdobe PDFดู/เปิด
17 ช ภาคผนาก.pdf311.1 kBAdobe PDFดู/เปิด
18 ซ ผลการตรวจสอบคุณภาพ IOC ภาคผนวก.pdf350.41 kBAdobe PDFดู/เปิด
19 ฌ การหาความเชื่อมั่น ภาคผนวก.pdf396.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
20 ญ โมเดล sem ภาคผนวก.pdf1.46 MBAdobe PDFดู/เปิด
21 ฎ ภาพลงพื้นที่ ภาคผนวก.pdf287.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
22 ประวัติผู้วิจัย.pdf106.63 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น